วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มุมของจาน MOVE

   ข้อมูลสำหรับช่าง  หรือ ท่านที่ต้องการหาความรู้เพิ่มเติม 
เป็นการเปรียบเทียบเพื่อให้มองเห็นได้ง่าย
ข้อมูลโดย มนตรี  สุขรอบ
ทิศตะวันออก
ทิศตะวันตก

รูปที่ 1
              จากรูปที่ 1 สมมุติว่าประเทศไทยตั้งอยู่ที่จุดศูนย์กลางของวงโคจรของดาวเทียม    ตามภาพเปรียบเทียบ  รูปที่ 1  การรับสัญญาณดาวเทียม  สำหรับมุมก้มเงยจะมีค่าเท่ากับ  0   นั้นหมายความว่า   เมื่อเราตั้งจานให้รับสัญญาณดาวเทียมที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า โดยเฉพาะดาวเทียม ที่ลอยอยู่ตรงกลางท้องฟ้า หน้าจานที่รับก็จะเหงนหน้าขึ้นไปรับสัญญาณแบบตรงๆ จากดาวเทียม   หรือถ้าเป็นจานแบบปรับหมุนได้ไม่ว่าจะปรับไปทางทิศตะวันออกหรือตะวันตก  จานก็จะหมุนได้ตรงตามเส้นวงโคจรของดาวเทียมแน่นอนครับ    ถ้าเป็นแบบนี้การรับสัญญาณดาวเทียมแบบหมุนได้   จะถือว่าเป็นเรื่องที่ง่ายมากสำหรับการติดตั้ง
ทิศตะวันออก
ทิศตะวันตก

รูปที่ 2
               ยกตัวอย่างสมมติ  เราเอาวงเวียนมาวาดเส้น  ตามภาพเปรียบเทียบ    รูปที่ 2 โดยยึดจุดศูนย์กลางเอาไว้  สังเกตุว่าเส้นที่วาดจะขีดทับกันอย่างสนิทพอดีครับ   ถ้าการรับสัญญาณเป็นไปตามรูปที่เปรียบเทียบ  ก็หมายความว่าเมื่อเรารับสัญญาณจากดาวเทียมก็จะรับสัญญาณได้แรงเต็มที่ ทุกดวง  ไม่ว่าดาวเทียมจะลอยอยู่ทางทิศใหน
ทิศตะวันออก
ทิศตะวันตก

รูปที่ 3
               ทีนี้ลองมาดู สำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะ เขตกรุงเทพฯ  เมื่อเราตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียม    หน้าจานที่รับจะต้องก้มหน้าไปทางทิศใต้โดยประมาณ 15 องศา     เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้มีพิกัดอยู่ตรงกับเส้นศูนย์สูตรของโลกและของวงโคจรดาวเทียม   ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้ว  จะได้รูปเหมือนกับรูปภาพที่ 3 ครับ   สังเกตุที่เส้นสีฟ้าครับเส้นที่ขีดไว้ต่ำกว่า เส้นสีแดง  เท่ากับว่าจุดศูนย์กลางสำหรับการหมุนหน้าจานจะถูกเปลี่ยนไป  ซึ่งไม่ใช่ที่จุดเดิมเหมือนภาพที่ 1
ทิศตะวันออก
ทิศตะวันตก

รูปที่ 4
                 ทดลองเอาวงเวียนมาวาดรูป  โดยตั้งจากจุดศูนย์กลางที่เปลี่ยนไปคือจุดที่เส้นสีฟ้าตัดกับเส้นสีแดง ครับ   เหมือนรูปเปรียบเทียบใน  รูปที่ 4  จะสังเกตุเห็นได้ว่าเส้นของวงเวียนที่วาด  คือที่เส้นสีฟ้าจะไม่ทับกันกับเส้นสีส้มทั้งหมดครับ  เนื่องจากวงเวียนที่ใช้เปรียบเทียบจะถูกกางออกเพื่อให้ตรงกับดาวเทียมที่ ต้องการรับ   และเป็นเหตุผลเดียวกันที่จานรับสัญญาณดาวเทียมก็ต้องปรับมุมก้มเงยใหม่เพื่อ ให้รับสัญญาณได้เช่นกัน

                ด้วยเหตุนี้ครับจึงจำเป็นจะต้องมีการปรับมุมอีกมุมหนึ่งช่วย  ก็คือมุมชดเชยครับ   มุมชดเชยจะช่วยปรับให้การรับในฝั่งทิศตะวันออกหรือฝั่งทิศตะวันตกให้แคบหรือ กว้างขึ้นได้  ซึ่งจะเป็นผลทำให้มุมในการรับสัญญาณฝั่งทางทิศตะวันออกหรือ ทิศตะวันตกรับสัญญาณได้ดีขึ้นด้วย



รูปที่ 5
มุมก้มเงย และมุมชดเชย              
                  เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่พอสมควรครับสำหรับช่างที่ติดตั้งจานดาวเทียม   ว่าระหว่างมุมก้มเงยและมุมชดเชยมันน่าจะเป็นมุมเดียวกัน   ถ้าเราดูที่ภาพประกอบในรูปที่ 5  แล้ว    เออ!! มันก็น่าจะเป็นมุมเดียวกันนะ   ไม่น่าแตกต่างกัน  เพราะว่าไม่ว่าเราจะปรับที่มุมก้มเงยที่จุด A  หรื่อมุมชดเชยที่จุด B  ก็น่าจะได้มุมที่จุดเดียวกัน
                    
รูป A                                          รูป B
                   แต่จริงๆแล้วการปรับที่มุมชดเชยจะมีผลต่างกันครับ     แต่ผลที่เกิดจะมีผลมากกว่า   เมื่อมีการปรับตำแหน่งหน้าจานไปอยูทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตกครับ  แรกๆผมเองก็งงอยู่นานพอสมควรเหมือนกันครับ    เพราะดูเผิ่นๆมันน่าจะเป็นมุมเดียวกัน    ที่นี้ลองดูที่รูป A ครับ  ที่รูปนี้จะไมการปรับที่มุมชดเชย  เมื่อเรามองจากด้านบนของจานและหน้าจานหันหน้าไปทางด้านซ้ายมือ  จะเห็นได้ว่ามุมของแกนทั้งสองจะยังคงขนานกันครับ   และเมื่อมองจากรูป B  ที่รูปนี้จะมีการปรับมุมชดเชยเอาไว้  แล้วลองสังเกตุดูครับว่าแกนกลางยังคงตั้งฉากอยู่แต่แกนหน้าจานจะเอียงออก  ซึ่งเกิดจากการปรับที่มุมชดเชยนี่เองละครับ
                  การปรับมุมชดเชยเป็น การปรับให้มุมการรับด้านข้าง จากรูปที่ 4  ให้ทิศทางการรับในฝั่งทิศตะวันออกหรือตะวันตก  ให้กว้างหรือแคบ  เพื่อให้ตำแหน่งการรับในทิศทางดังกล่าวรับสัญญาณได้ตรงตำเหน่งที่สุด  เพื่อประสิทธิภาพในการรับสัญญาณ  ของจานแบบ MOVE

สรุบมุมก้มเงยและมุมชดเชยสำหรับจานแบบ MOVE1. การปรับมุมก้มเงยจะมีผลกับการรับดาวเทียมที่ลอยอยู่ตำแหน่งกลางท้องฟ้า
    มากกว่าด้านทิศตะวันออกหรือตะวันตก
2. การปรับมุมชดเชยจะมีผลต่อการรับสัญญาณทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก
    มากกว่า  ดาวเทียมที่ลอยอยู่ตำแหน่งกลางท้องฟ้า
3. ค่าต่างระหว่างมุมก้มเงยกับมุมชดเชยอยู่ที่ประมาณ 2 องศา +/- 0.5 องศา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น