วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเข้ารหัสระบบ DIGITAL MPEG 2

ดาวเทียมระบบ DIGITAL MPEG 2 article                        การส่งสัญญาณภาพให้เป็นระบบ DIGITAL เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณที่ชัดเจนที่ดียิ่งขึ้น  ซึ่งระบบนี้จะดีกว่าการส่งสัญญาณในระบบ ANALOG แบบเดิมๆมาก  และได้มีการพัฒนาการบีบอัดสัญญาณด้วยระบบ DIGITAL  ให้มีความสามารถสูงขึ้นอีก  เพื่อลดจำนวนข้อมูลในการส่งผ่านสื่อต่างๆ  ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการทางด้านนี้สามารถลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของการเช่า ช่องสัญญาณของดาวเทียมลดลงได้   ช่องสัญญาณดาวเทียม ( Transponder )  1 ช่องสัญญาณนั้น  สามารถที่จะเอาเทคโนโลยี่บีบอัดสัญญาณโดยระบบ DIGITAL  ด้วยมาตรฐานของ MPEG 2 DVB ( Moving Picture Experts Group 2 Digital Video Broadcasting ) อันเป็นเทคโนโลยี่ที่ทันสมัย  และการนำมาตรฐานของ MPEG 2 มาใช้ก็สามารถช่วยให้ส่งช่องสัญญาณได้มากถึง 8-10 ช่องสัญญาณภาพต่อ 1 ช่องสัญญาณดาวเทียม

หลักการพื้นฐานในการบีบอัดข้อมูลของ MPEG 2
ใช้หลักการสำคัญอยู่ 3 ข้อ ได้แก่

1. ความสัมพันธ์ร่วมทางช่วงว่าง ( Spatial correlation )
2. ความสัมพันธ์ร่วมทางเวลา  ( Time  correlation )
3. การเข้ารหัสแบบเปลี่ยนแปลงความยาว ( Voriable-length  coding )

เทคนิคการใช้ความสัมพันธ์ร่วมทางช่วงว่าง
                    
                     ความสัมพันธ์ร่วมทางช่วงว่างจะใช้การแลกเปลี่ยนส่วนประกอบย่อยของข้อมูลภาพ  ให้เป็นความถี่  ระบบ MPEG 2 ใช้กรรมวิธี  DISCRETE  COSINE TRANSFORM ( DCT ) เพื่อเปลี่ยนข้อมูลของจุดภาพ ( PLXEL ) ที่มีความสัมพันธ์ร่วามทางช่วงว่างสูง  ให้มีความถี่ต่ำที่จะบรรจุรายละเอียดข้อมูลได้ปริมาณมาก
                     ในขั้นตอนต่อไปจะทำการกำจัดส่วนประกอบความถี่สูงเพื่อเป็นการบีบอัดข้อมูล  ด้วยการใช้  ขบวนการเฉพาะที่รู้จักกันในนามของ  Quantization  ถ้ามีอัตราบีบอัดภาพมากจะทำให้คุณภาพของภาพที่แสดงออกมาด้อยลงไปด้วย
เทคนิคการใช้ความสัมพันธ์ร่วมทางเวลา
                      การบีบอัดข้อมูลภาพที่ใช้ความสัมพันธ์ร่วมทางเวลาจะใช้ความสัมพันธ์ในการ แสดงออกทางภาพระหว่างแฟรมในกรณีนี้ภาพที่บรรจุรายละเอียดข้อมูลที่เหมือนกัน ภายในภาพ 2 ภาพ ( แฟรม ) ที่ติดต่อกัน  ถ้าภาพประกอบด้วยข้อมูล  เคลื่อนไหวเหมือนกันทั้ง 2 ภาพระบบจะสร้างภาพของแฟรมแรกขึ้นมาใหม่  เพื่อใช้สร้างภาพให้กับเฟรมที่ 2 ระบุความสอดคล้องระหว่างกันในภาพของ 2 เฟรม  เพื่อกำหนดทิศทางและระยะของการเคลื่อนไหว  แล้วส่งเวกเตอร์ระบุการเคลื่อนไหวไปให้เฟรมถัดไป  การกระทำเช่นนี้เรียกว่า  การชดเชยความเคลื่อนไหว   ถ้าไม่มีความแตกต่าง  ของข้อมูลสำหรับทุกเฟรม  ระบบจะสร้างภาพเดิม  ให้ปรากฏขึ้นในเฟรมถัดไปด้วยการส่งรหัสเพื่อระบุการไม่มีการเปลี่ยนแปลง  ของภาพออกมา

การเข้ารหัสแบบเปลี่ยนแปลงความยาว

                        เทคนิคของการบีบอัดข้อมูลแบบใช้ความแตกต่างของการประมาณความน่าจะเป็นของ รหัสที่ปรากฏ  รหัสสั้นให้ข้อมูลที่มีความน่าจะเป็นสูงและรหัสยาวสำหรับข้อมูลที่มีความน่า จะเป็นต่ำ  ระบบนี้จะทำให้ปริมาณของรายละเอียดข้อมูลเฉลี่ยลดน้อยลงได้มาก
                       ระบบนี้ใช้ร่วมกันระหว่างความสัมพันธ์ร่วมทางช่วงว่างความสัมพันธ์ร่วมทาง เวลาและการเข้ารหัสแบบเปลี่ยนแปลงความยาวสามารถบีบอัดข้อมูลภาพให้ลดลงไปจาก ปริมาณเดิมได้ถึง 1:20 หรือ 1:30 สำหรับขบวนการถอดรหัสของสัญญาณภาพจะใช้กรรมวิธีที่กลับกันกับขบวนการ เข้ารหัส
                        จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นว่า  เทคโนโลยี่การบีบอัดสัญญาณโดยระบบ  DIGITAL มาตรฐาน  MPEG 2  สามารถลดจำนวนข้อมูลให้เล็กลง  และสามารถส่งโปรแกรมได้มากถึง  8-10 โปรแกรม  ต่อ  1 ช่องสัญญาณดาวเทียม  เป็นการประหยัดและให้ความ คมชัดยิ่งขึ้น


รวบรวมข้อมูลโดย มนตรี  สุขรอบ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น