วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Review จานดาวเทียม PATTANA

ดาวเทียมไทยคม ดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ

           ภายหลังจากรัฐบาลไทยในปี พ.ศ.2526 มีนโยบายที่จะให้ประเทศไทยมีดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศเป็นของตนเอง จึงได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมศึกษาความเป็นไปได้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีความเห็นว่ารัฐบาลไม่สมควรที่จะลงทุนดำเนินกิจการเอง จึงเปิดโอกาสให้เอกชนที่สนใจจะลงทุนยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลพิจารณา
          ในปี พ.ศ. 2534 กระทรวงคมนาคมได้พิจารณาและเห็นชอบในข้อเสนอของ บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด และได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2534 และวันที่ 6 สิงหาคม 2534 ให้บริษัทชินวัตรฯ เป็นผู้ได้รับสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเท โดยกระทรวงคมนาคมและบริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ได้ลงนามในสัญญาดำเนินกิจการโครงการดาวเทียมสื่อสารของไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2534
 
          โครงการดาวเทียมสื่อสารแห่งชาตินี้ เป็นโครงการของประเทศไทย ซึ่งหมายความว่าทางราชการไทย คือกระทรวงคมนาคมเป็นเจ้าของโครงการตัวดาวเทียม สถานีควบคุมภาคพื้นดินและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลในทันที่การจัดสร้างและจัดส่งดาวเทียมเสร็จสิ้น โดย บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด จะทำหน้าที่ในการจัดสร้าง จัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร ตลอดจนบริหารโครงการฯ และให้บริการวงจรดาวเทียม เพื่อให้ประเทศไทยมีดาวเทียมสื่อสารใช้เป็นเวลา 30 ปี
          บริษัท ชินวัตรฯ จึงจัดตั้งบริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด ขึ้น เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2534 เพื่อรับผิดชอบดำเนินกิจการโครงการดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ มีที่ทำการ ณ สถานีควบคุมดาวเทียมไทยคม ถ.รัตนาธิเบศร์ นนทบุรี ในการดำเนินโครงการดาวเทียมไทยคมนี้ ได้มีการลงนามสัญญาว่าจ้างบริษัทของต่างประเทศเข้าร่วมโครงการด้วย 3 บริษัท คือ บริษัท Hughes Aircraft จำกัด (สหรัฐอเมริกา) เป็นบริษัทคู่สัญญาดำเนินการจัดสร้างดาวเทียมไทยคมและให้คำปรึกษาแนะนำทาง เทคนิคเกี่ยวกับการใช้งานของดาวเทียมและสถานีควบคุมดาวเทียมภาคพื้นดิน  บริษัท Arianespace จำกัด (ฝรั่งเศส) เป็นบริษัทคู่สัญญาในการดำเนินการจัดส่งดาวเทียมไทยคมเข้าสู่ตำแหน่งวงโคจรบนยานอวกาศโดยใช้จรวด Arianespace 4 จัดส่ง และ บริษัท Telespace จำกัด (แคนาดา) เป็นบริษัทคู่สัญญาดำเนินการเป็นที่ปรึกษาทางเทคนิคและโครงการ
         
   
         
เสด็จฯ ทอดพระเนตรจานรับสัญญาณ
ดาวเทียมไทยคม
  เสด็จฯ ทอดพระเนตรและสาธิต
การควบคุมสถานีดาวเทียมไทยคม
  ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับคณะ
ผู้บริหารกลุ่มชินวัตร
   
   
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์
ทอดพระเนตรกิจการและการสาธิตการควบคุมสถานีดาวเทียมไทยคม
ไทยคม
          "ไทยคม" ดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติดวงแรกของรัฐบาลไทย ผลิตโดย บริษัท
Hughes Aircrafts จำกัด (ประเทศสหรัฐอเมริกา) ดาวเทียมไทยคมมีรูปทรงกระบอก เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 ซึ่งเป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมใช้อย่างแพร่หลาย เพราะมีขนาดกะทัดรัด มีน้ำหนักค่อนข้างเบา มีอายุการใช้งาน 15 ปี ทั้งนี้เป็นเพราะอายุการใช้งานจะขึ้นกับความจุของเชื้อเพลิง โดยดาวเทียมรุ่น HS-376 สามารถบรรจุเชื้อเพลิงได้สำหรับใช้งานเต็มที่ 15 ปี ดังนั้นในช่วงระยะเวลาสัมปทานของโครงการฯ รวม 30 ปี จะต้องมีการจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่ตำแหน่งวงโคจรบนอวกาศอย่างน้อย 2 รุ่นด้วยกัน และตามข้อกำหนดในสัมปทานนั้น ในการส่งดาวเทียมแต่ละรุ่นจะต้องส่งเป็นจำนวน 2 ดวง เพื่อเป็นการขยายให้มีจำนวนทรานส์พอนเดอร์สำหรับใช้งานมากขึ้น เมื่อรวมทั้งหมดแล้ว โครงการดาวเทียมไทยคม จะมีการยิงดาวเทียมขึ้นสู่ตำแหน่งวงโคจรทั้งสิ้นอย่างน้อย 4 ดวง
 
ส่วนประกอบของดาวเทียมไทยคม
          ดาวเทียมไทยคมเป็นดาวเทียมที่หมุนรอบตัวเองเพื่อสร้างเสถียรภาพในอวกาศโดยมี ส่วนสูงเมื่อซ้อนพับเก็บระหว่างการขนส่งขึ้นสู่อวกาศ 2.56 เมตร กว้าง 2.16 เมตร และมีขนาดเมื่ออยู่บนวงโคจร เมื่อใช้งานคือ ส่วนสูงเท่ากับ 6.76 เมตร กว้าง 2.16 เมตร และมีขนาดจานสายอากาศเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.8 เมตร น้ำหนักของดาวเทียมขณะยิงขึ้นสู่วงโคจรเท่ากับ 1,078 กิโลกรัม น้ำหนักแรกเริ่มเมื่อใช้งานบนวงโคจรเท่ากับ 627 กิโลกรัม และน้ำหนักเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งานเท่ากับ 439 กิโลกรัม ระบบพลังงานของดาวเทียม "ไทยคม" จะมี 2 แบบ คือ ใช้ซิลิคอนโซลาร์เซลบนผิวรอบนอกทรงกระบอกของดาวเทียม และระบบพลังงานโดยใช้เชื้อเพลิงแบบแบตเตอรี่ ชนิดนิเกิลไฮโดรเจนสำหรับจ่ายพลังงานในขณะเกิดสุริยคราส ดาวเทียม "ไทยคม" จะหมุนรอบตัวเอง 55 รอบใน 1 นาที ในการให้ดาวเทียมอยู่ในตำแหน่งจะใช้จรวดขับดัน 4 ตัว โดยใช้เชื้อเพลิงแบบไฮดราซีน (Hydrazine)
องค์ประกอบหลักของดาวเทียมไทยคม
          ดาวเทียมไทยคม รุ่น
HS-376 ประกอบด้วยชุดอุปกรณ์สำหรับส่งสัญญาณที่เรียกว่า "ทรานสพอนเดอร์" (Transponders) จำนวน 12 ทรานสพอนเดอร์ แบ่งเป็นความถี่ย่าน C-Band
          จำนวน 2 ทรานสพอนเดอร์ : มีพื้นที่ บริการครอบคลุมเฉพาะประเทศไทย และในภูมิภาคใกล้เคียงเฉพาะเขตภูมิภาคอินโดจีน
ประโยชน์ของดาวเทียมไทยคม
          ดาวเทียมไทยคมมีข้อได้เปรียบกว่าดาวเทียมดวงอื่นๆ ที่ประเทศไทยใช้อยู่คือ มีความแรงของสัญญาณเหมาะสมกับประเทศไทยเป็นพิเศษ และเป็นดาวเทียมดวงเดียวในภูมิภาคนี้ที่มีความถี่ย่าน
Ku-Band ประโยชน์ของดาวเทียมไทยคม แบ่งได้ดังนี้
          ด้านโทรทัศน์
          สถานีแม่ข่ายสามารถส่งรายการผ่านดาวเทียม ไปยังสถานีเครือข่ายหรือสถานีทวนสัญญาณ เพื่อออกอากาศแพร่ภาพต่อในเขตภูมิภาค สามารถทำการถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียมได้โดยอุปกรณ์เคลื่อนที่
      
   ด้านวิทยุกระจายเสียง
          สามารถถ่ายทอดสัญญาณไปมาระหว่างสถานีวิทยุจากภูมิภาคที่ห่างไกลกัน เพื่อรวบรวมข่าวสาร รวมทั้งแพร่สัญญาณถ่ายทอดต่อ ณ สถานีทวนสัญญาณ
       
  ด้านโทรศัพท์
          สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายโทรศัพท์จากชุมสายต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ห่างไกลเข้ากับเครือข่ายโทรศัพท์ ทำให้การสื่อสารสะดวก สามารถส่งผ่านได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพ
สถานีดาวเทียมไทยคม
          สถานีดาวเทียม "ไทยคม" ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมและติดตามดาวเทียม
Telemetry, Tracking, Control & Monitoring ซึ่งทันสมัยที่สุด ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 17 ไร่ ในที่ดินของการไปรษณีย์โทรเลข ถนนรัตนาธิเบศร์ จังหวัดนนทบุรี ดำเนินการโดย บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)
          ระบบสถานีภาคพื้นดิน (Ground Station) มีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วนคือ
  1. Satelite Control Facility (SCF) ได้แก่ อาคารปฏิบัติการและระบบสนับสนุนต่างๆ ที่ทันสมัย ส่วนด้านหน้าชั้นล่างของอาคารได้จัดเตรียมไว้เป็นห้องสัมมนาทางวิชาการ และห้องนิทรรศการ ให้ผู้ที่เข้าสัมมนา และผู้เยี่ยมชมได้ศึกษาหาความรู้โดยได้จัดเตรียมไว้บริการเพื่อได้ประโยชน์สูงสุด
    ชั้นล่างส่วนกลางของอาคาร ประกอบด้วยระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง (
    Uninterrupt Power Supply หรือ UPS ขนาด 400 กิโลวัตต์ ) และแบตเตอรี่สามารถจ่ายไฟได้นานถึง 30 นาที ระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองขนาด 1,000 กิโลวัตติ์ สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ภายใน 3 วินาที เมื่อเกิดเหตุระบบไฟฟ้าปกติขัดข้องและผลิตไฟจ่ายได้ไม่ต่ำกว่า 42 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีระบบป้องกันไฟกระชาก ( Surge Protection) ระบบสายล่อฟ้า ระบบป้องกันเพลิง ระบบดับเพลิง และระบบควบคุมความปลอดภัย
    ส่วนหลังของอาคารประกอบด้วยห้องควบคุมและติดตามดาวเทียม (
    Control Room) ประกอบด้วยห้องอุปกรณ์ความถี่วิทยุ (RF Room) และสนามจาน สายอากาศ 5 จาน ประกอบด้วยจาน C-Band 3 จาน (ขนาด 11 เมตร 2 จาน สำหรับไทยคม 1,2 ส่วนจานที่ 3 เป็นจานสำรองขนาด 8.1 เมตร ใช้สำหรับกรณีจานใดจานหนึ่งต้องการการซ่อมแซม หรือถึงกำหนดการดูแลรักษา ส่วน Ku-Band มี 2 จาน มีขนาด 11 เมตร เช่นกัน เพื่อใช้กับไทยคม 1,2 ในย่าน Ku-Band)
  2. Telemetry Tracking Control & Monitoring (TTC&M) ระบบตรวจวัด ติดตาม ควบคุมและเฝ้าดูผล ระบบนี้จะเป็นที่มีทั้งส่วนที่อยู่บนตัวดาวเทียม และที่สถานีควบคุมภาคพื้นดิน โดยระบบตรวจวัด (Telemtry) จะส่งข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดสัญญาณควบคุมต่างๆ อาทิ แรงดันในถังเก็บเชื้อเพลิง แรงดันกระแสไฟฟ้า เป็นต้น
          ในส่วนที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าตลอดจนค่ากระแสและแรงดันต่างๆ ในอุปกรณ์สื่อสารอิเล็คโทรนิคส์บนตัวดาวเทียม แล้วส่งมายังสถานีควบคุมภาคพื้นดิน ส่วนระบบติดตาม (Tracking) เป็นระบบที่อยู่บนภาคพื้นดิน ซึ่งคอยจัดการเกี่ยวกับข้อมูลทางตำแหน่งของตัวดาวเทียม เช่น ระยะห่างจากโลก มุมกวาดในแนวนอนของจานสายอากาศ (Azimuth) และมุมเงยของจานสายอากาศ (Elevation) จากการตรวจจับพารามิเตอร์ทั้งสามซ้ำๆ กันหลายครั้ง ก็จะทำให้สถานีควบคุมสภาคพื้นดิน สามารถกำหนดตำแหน่งที่ถูกต้องของตัวดาวเทียม ณ ขณะนั้นๆ ได้ อุปกรณ์ภาคพื้นดินที่ติดตั้งอยู่มีความแม่นยำในการบอกตำแหน่งของดาวเทียมได้ภายในระยะผิดพลาดไม่เกิน 100 เมตร ในขณะที่ดาวเทียมมีวงโคจรอยู่เหนือพื้นผิวโลกประมาณ 35,786 กิโลเมตร การรับสัญญาณระบบตรวจวัด (Telemetry) จากดาวเทียมและข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งและวงโคจร จากระบบการติดตาม (Tracking) จะทำให้สถานีควบคุมภาคพื้นดินสามารถส่งสัญญาณควบคุม (Command Control) ไปยังตัวดาวเทียมเพื่อใช้ในการปรับสภาพต่างๆ ให้เหมาะสมในการทำงานได้ตลอดเวลา
           ส่วนการเฝ้าดูแล (
Monitoring) นอกจากจะดูผลหลังจากการควบคุมและออกคำสั่งแล้ว สถานีควบคุมดาวเทียมยังสามารถดูผลของการใช้ช่องสัญญาณ (Transponder) แต่ละช่องสัญญาณ อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด มีการตรวจสอบว่ามีการรบกวนซึ่งกันและกันหรือไม่ เนื่องจากข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมนั้นมีจำนวนมากและซับซ้อน จึงจำเป็นต้องนำระบบคอมพิวเตอร์และการประมวลผล (Computer and Data Processing System) เข้ามาช่วยในการคำนวณและประมวลผล
          สถานีควบคุมดาวเทียมไทยคมนี้ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน พร้อมกันนั้นยังมีหน่วยงานอื่นๆ อาทิ ฝ่ายการพาณิชย์ ฝ่ายธุรการและงานบริการทั่วไป ที่สามารถให้บริการแก่ผู้เช่าช่องสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ.

ดาวเทียมคืออะไร

ดาวเทียม คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้น ที่สามารถโคจรรอบโลก โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก ส่งผลให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ วัตถุประสงค์ของสิ่งประดิษฐ์นี้เพื่อใช้ ทางการทหาร การสื่อสาร การรายงานสภาพอากาศ การวิจัยทางวิทยาศาสตรเช่นการสำรวจทางธรณีวิทยาสังเกตการณ์สภาพของอวกาศ โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร และดาวอื่นๆ รวมถึงการสังเกตวัตถุ และดวงดาว กาแล็กซี ต่างๆ

ประวัติของดาวเทียม


ดาวเทียมได้ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2500 ดาวเทียมดังกล่าวมีชื่อว่า "สปุตนิก (Sputnik)" โดยรัสเซียเป็นผู้ส่งขึ้นไปโคจร สปุตนิกทำหน้าที่ตรวจสอบการแผ่รังสีของชั้นบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟีย ในปี พ.ศ. 2501 สหรัฐได้ส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรบ้างมีชื่อว่า "Explorer" ทำให้รัสเซียและสหรัฐเป็น 2 ประเทศผู้นำทางด้านการสำรวจทางอวกาศ และการแข่งขั้นกันระหว่างทั้งคู่ได้เริ่มขึ้นในเวลาต่อมา
http://www.gistda.or.th/Gistda/HtmlGistda/Images/Images/Satellite/Sputnik.jpg                  http://www.gistda.or.th/Gistda/HtmlGistda/Images/Images/Satellite/Explorer.jpg
          Sputnik พ.ศ.2500                                                            Explorer พ.ศ.2501

ส่วนประกอบดาวเทียม
ดาวเทียมเป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกสที่ ซับซ้อน มีส่วนประกอบหลายๆ อย่างประกอบเข้าด้วยกันและสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ สามารถโคจรรอบโลกด้วยความเร็วที่สูงพอที่จะหนีจากแรงดึงดูดของโลกได้ การสร้างดาวเทียมนั้นมีความพยายามออกแบบให้ชิ้นส่วนต่างๆ ทำงานได้อย่างประสิทธิภาพมากที่สุด และราคาไม่แพงมาก ดาวเทียมประกอบด้วยส่วนประกอบเป็นจำนวนมาก แต่ละส่วนจะมีระบบควบคุมการทำงานแยกย่อยกันไป และมีอุปกรณ์เพื่อควบคุมให้ระบบต่างๆ ทำงานร่วมกัน โดยองค์ประกอบส่วนใหญ่ของดาวเทียมประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

  1. โครงสร้างดาวเทียม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก โครงจะมีน้ำหนักประมาณ 15 - 25% ของน้ำหนักรวม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเลือกวัสดุที่มีน้ำหนักเบา และต้องไม่เกิดการสั่นมากเกินที่กำหนด หากได้รับสัญญาณที่มีความถี่ หรือความสูงของคลื่นมากๆ (amptitude)
  2. ระบบเครื่องยนต์ ซึ่งเรียกว่า "aerospike" อาศัยหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องอัดอากาศ และปล่อยออกทางปลายท่อ ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำงานได้ดีในสภาพสุญญากาศ ซึ่งต้องพิจารณาถึงน้ำหนักบรรทุกของดาวเทียมด้วย
  3. ระบบพลังงาน ทำหน้าที่ผลิตพลังงาน และกักเก็บไว้เพื่อแจกจ่ายไปยังระบบไฟฟ้าของดาวเทียม โดยมีแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ไว้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ให้ดาวเทียม แต่ในบางกรณีอาจใช้พลังงานนิวเคลียร์แทน
  4. ระบบควบคุมและบังคับ ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ที่เก็บรวมรวมข้อมูล และประมวลผลคำสั่งต่างๆ ที่ได้รับจากส่วนควบคุมบนโลก โดยมีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ (Radar System) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร
  5. ระบบสื่อสารและนำทาง มีอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ซึ่งจะทำงาน โดยแผงวงจรควบคุมอัตโนมัติ
  6. อุปกรณ์ควบคุมระดับความสูง เพื่อรักษาระดับความสูงให้สัมพันธ์กันระหว่างพื้นโลก และดวงอาทิตย์ หรือเพื่อรักษาระดับให้ดาวเทียมสามารถโคจรอยู่ได้
  7. เครื่องมือบอกตำแหน่ง เพื่อกำหนดการเคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังมีส่วนย่อยๆ อีกบางส่วนที่จะทำงานหลังจาก ได้รับการกระตุ้นบางอย่าง เช่น ทำงานเมื่อได้รับสัญญาณ สะท้อนจากวัตถุบางชนิด หรือทำงานเมื่อได้รับลำแสงรังสี ฯลฯ
ชิ้นส่วนต่างๆ ของดาวเทียมได้ถูกทดสอบอย่างละเอียด ส่วนประกอบต่างๆ ถูกออกแบบสร้าง และทดสอบใช้งานอย่างอิสระ ส่วนต่างๆ ได้ถูกนำมาประกอบเข้าด้วยกัน และทดสอบอย่างละเอียดครั้งภายใต้สภาวะที่เสมือนอยู่ในอวกาศก่อนที่มัน จะถูกปล่อยขึ้นไปในวงโคจร ดาวเทียมจำนวนไม่น้อยที่ต้องนำมาปรับปรุงอีกเล็กน้อย ก่อนที่พวกมันจะสามารถทำงานได้ เพราะว่าหากปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรแล้ว เราจะไม่สามารถปรับปรุงอะไรได้ และดาวเทียมต้องทำงานอีกเป็นระยะเวลานาน ดาวเทียมส่วนมากจะถูกนำขึ้นไปพร้อมกันกับจรวด ซึ่งตัวจรวดจะตกลงสู่มหาสมุทรหลังจากที่เชื้อเพลิงหมด

ดาวเทียมทำงานอย่างไร 
ดาวเทียมจะถูกส่งขึ้นไปลอยอยู่ในตำแหน่ง  วงโคจรค้างฟ้า ซึ่งมีระยะห่างจากพื้นโลกประมาณ   36000 - 38000  กิโลเมตร  และโคจรตามการหมุนของโลก  เมื่อเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นโลกจะเสมือนว่าดาวเทียมลอยนิ่งอยู่บนท้องฟ้า  และดาวเทียมจะมีระบบเชื้อเพลิงเพื่อควบคุมตำแหน่งให้อยู่ในตำแหน่งองศาที่ ได้สัปทานเอาไว้   กับหน่วยงานที่ดูแลเรื่องตำแหน่งวงโคจรของดาวเทียมคือ  IFRB ( International Frequency Registration Board )
                        ดาวเทียมที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า  จะทำหน้าที่เหมือนสถานีทวนสัญญาณ  คือจะรับสัญญาณที่ยิงขึ้นมาจากสถานีภาคพื้นดิน  เรียกสัญญาณนี้ว่าสัญญาณขาขึ้นหรือ ( Uplink ) รับและขยายสัญญาณพร้อมทั้งแปลงสัญญาณให้มีความถี่ต่ำลงเพื่อป้องกันการรบกวน กันระหว่างสัญญาณขาขึ้นและส่งลงมา  โดยมีจานสายอากาศทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณ  ส่วนสัญญาณในขาลงเรียกว่า ( Downlink ) 



วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การใช้เข็มทิศ


      
           เข็ม ทิศเป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับวัดทิศทาง  เพื่ออ้างอิง เป็นอุปกรณ์ตัวเล็กแต่ประโยชน์มากมายครับ  ตัวเข็มทิศผลิตจากแผ่นแม่เหล็ก บางๆ  แล้ววางไว้บนจุดหมุนที่ไม่มีแรงเสียดทาน  เมื่อเราปล่อยให้แผ่นแม่เหล็กบางๆ นี้เคลื่อนไหวแบบอิสระ  ตัวแผ่นแม่เหล็กจะหมุนไปหยุดอยู่ที่จุดๆหนึ่ง  ซึ่งจุดนี้เองทำให้เราอ่าน ทิศได้                       
            การกำหนดทิศที่ตัวเข็มทิศ  ถ้าเราลองดูที่ตัวเข็มของเข็มทิศ
จะ มีการทาสีไว้ที่ตัวเข็ม  โดยจะทาสีแดงไว้ฝั่งหนึ่ง และสีดำไว้อีกฝั่งของเข็ม  ทิศเหนือจะทาสีแดงไว้ที่เข็มทิศและทิศใต้จะทาสี ดำเมื่อเราสังเกตุที่เข็มทิศ  ตามรูป

                             
ทิศใต้
ทิศตะวันออก    ทิศตะวันตก
ทิศเหนือ

                                  
การประกอบเข็มทิศกับอุปกรณ์เสริมเพื่อสะดวกในการใช้งาน
สำหรับติดตั้งจานดาวเทียม
             การใช้เข็มทิศสำหรับการติดตั้งจานดาวเทียม  ถ้าจะให้ง่ายต่อการวัด
นะครับ  เราต้องหาอุปกรณ์มาเสริมกับตัวเข็มทิศครับจึงจะสะดวกเวลาวัดทิศครับ
  อุปกรณ์ที่ใช้มีดังนี้ครับ 
 
1. อลูมิเนียมแบบฉากความยาวประมาณ 2 ฟุต หรือ 60 ซม. ( ห้ามใช้เหล็ก )
  2. เข็มทิศแบบพลาสติกตามแบบภาพหรือไกล้เคียง  ( เอาแบบปรับหมุนองศาได้ )
นำเอาเข็มทิศติดไว้กับอลูมิเนียมแบบฉากโดยใช้เทปกาว 2 หน้า
เท่านี้ท่านก็มีอุปกรณ์วัดทิศแบบสุดยอดไว้ใช้งานแล้วละครับ
                         
การใช้เข็มทิศ  สำหรับจานแบบมูฟ
               จานแบบมูฟจะมีการวัดทิศเพื่ออ้างอิงเพียงจุดเดียว  คือทิศใต้ครับ วิธีการใช้เข็มทิศวัดทิศใต้จะมีวิธีการวัดง่ายๆดังนี้ครับ


ปรับหมุนเส้นขีดสีดำฝั่งตัว S ให้ทับกับเส้นอ้างอิงสีแดงด้านล่างดังภาพ
               
           นำ เข็มทิศที่ได้ดัดแปลง แล้วมาวางทาบกับคอจานดังภาพ  แล้วใช้มือดึงหรือดันให้เข็มทิศหมุนชี้ตรงตามทิศของเข็มทิศดังภาพ  แค่นี้ก็จะได้ทิศใต้ของจานแบบหมุนแล้วครับ เป็นเพียงทิศอ้างอิงนะครับ อย่ายึดถือ 100 %
<<<<<  

    ปรับให้เข็มตรงแบบภาพตัวอย่าง
การใช้เข็มทิศสำหรับจาน FIX.
              ถ้าเราใช้เข็มทิศเป็นก็จะช่วยให้การติดตั้งง่ายและเร็วยิ่งขึ้นครับ
การใช้เข็มทิศสำหรับจาน FIX. มีขั้นตอนง่ายๆดังนี้ครับ
 1. เลือกดาวเทียมที่จะรับ
 2. เช็คทิศว่าดาวเทียมที่จะรับอยู่ที่กี่องศา ( Az ) แต่ละจังหวัดไม่เหมือนกัน
     ตารางทิศและมุมก้มเงย เพิ่มเติม ( คลิกที่นี่ )
 3. ปรับตัวเลขที่ เข็มทิศให้ได้ตัวเลข ตามตาราง
 4. นำเข็มทิศไปวางทาบด้านข้างคอจาน
 5. ปรับทิศหน้าจานให้เข็มทิศหมุนตรงตามทิศ เหนือใต้
     เท่านี้เราก็จะได้ทิศของจานแบบ Fix. แล้วละครับ ที่เหลือก็ปรับมุมก้มเงยช่วย
     การใช้อุปกรณ์วัดเป็นเพียงข้อมูลอ้างอิงเท่านั้น ไม่ตรงเปะเสมอไปครับ
ทดลองใช้เข็มทิศที่ดาวเทียม ไทยคม 2/3
- เปิดดูจากตารางจะมีทิศ  (Az)โดยประมาณ
  ที่ 240 องศา สำหรับกรุงเทพฯครับ
- ให้เราใช้มือหมุนปรับเข็มทิศให้ได้ตัวเลข
   ที่ประมาณ 240 องศา เหมือนภาพตัวอย่าง
   ให้สังเกตุตัวเลขที่หมุน ให้ไปตรงกับขีด
    สีแดง
เอาชุดเข็มทิศที่ได้ดัดแปลงเอาไว้มาวัดทิศ
- เมื่อตั้งตัวเลขได้ตามองศา Az แล้ว
- ให้นำเอาชุดเข็มทิศไปแปะกับด้านข้าง
   คอจานดาวเทียม
- แล้วปรับทิศของจานดาวเทียมพร้อมสังเกตุ
   ที่ตัวเข็มทิศ ให้เข็มที่หมุนตรงกับทิศ
   โดยเข็มสีแดงจะตรงกับทิศเหนือ
   ทิศใต้จะตรงกับสีดำ เหมือนภาพครับ

เท่านี้เราก็จะได้ทิศของจานแบบ Fix.แล้วครับ
จานดวงอื่นๆก็ทำเช่นเดียวกันครับ

เทคนิคการติดตั้งจาน FIX. ไทยคม

เทคนิคการติดตั้งจานรับทีวีไทย
จากดาวเทียมไทยคม  ด้วยจาน 5.5' SM
1. แบ่งหน้าจานประกอบออกเป็น 2 ส่วนตามภาพตัวอย่าง
2. เมื่อประกอบเสร็จแล้ว นำมาประกอบเข้าด้วยกัน
3. น็อตตัวในสุด ยังไม่ต้องประกอบเข้า
4. ชุดอุปกรณ์ประกอบคอจาน
5. ประกอบคอจานให้ได้ดังภาพตัวอย่าง
6. นำคอจานที่ประกอบเสร็จ มาประกอบกับจาน
7. ใส่น็อตทั้ง 4 ตัวที่เหลือ
8. ชุดอุปกรณ์แขนจับ LNB พร้อมหมวก
9. ประกอบ แผนสกาล่าริ่ง เข้ากับแขนจับ LNB หรือขีดฟีด ทั้ง 4 ขา
10. ภาพเมื่อประกอบเสร็จแล้ว
11. ยกจานมาประกอบเข้ากับเสาตั้งจาน
12. นำแผ่นเหล็กมาใขล็อคติดกับหน้าจานดังภาพ
13. นำแขนฟีดมาประกอบกับหน้าจาน
14. ขันน็อตทุกตัวให้แน่นพอสมควร 
15. นำ LNB มาประกอบเข้ากับจานดังภาพ  โดยให้เลข 0 ของ LNB ชี้ลงมาที่แขนฟีด ด้านซ้ายตัวล่าง ดังภาพ
16. ปรับความลึกของ LNB ไว้ที่ 38
17. ปอกสายนำสัญญาณ RG6 ยางประมาณ 1 ซม. ดังภาพ
18. นำ F-TYPE มาใขเกลียวเข้าให้ได้ดังภาพ  แกนทองแดงไม่ควรยาวเกิน 2 มิลลิเมตร
19. ควรใขเกลียว F-TYPE ให้โฟมสีขาวขึ้นมาชนกับขอบเหล็กดังภาพ พอดีระวังอย่าให้มีเศษสายฝอยโผล่ขึ้นมา
20. นำสายที่ต่อหัวแล้วสอดเข้าที่แผ่นรองหมวกครอบ LNB ดังภาพ
21. ต่อสายเข้ากับ LNB
22. เก็บสาบพันด้วยเทปพันสายให้เรียบร้อย
23. ใส่หมวกครอบ  หรือว่า รอปรับสัญญาณจนเสร็จแล้วค่อยใส่หมวกก็ได้

ภาพรวมเมื่อประกอบจานจนเสร็จขั้นตอน

    
ขั้นตอนการปรับหน้าจานเพื่อรับดาวเทียมไทยคม 2/3


             ใช้เข็มทิศ แบบมีแกนวัดที่เป็น อลูมิเนียม  ตั้งค่าเพื่อปรับจานหาทิศทางในการรับ 
ยกตัวอย่างที่กรุงเทพฯ ทิศการรับจะอยู่ที่ประมาณ 240 องศา หรือที่ต่างจังหวัดก็จะมีองศาใกล้เคียงกันใช้อ้างอิงได้ครับ
             ให้หมุนปรับที่วงกลมสีส้มของเข็มทิศ  ให้ตัวเลข  240 ที่วงกลมสีส้มตรงกับสีแดง  ที่อยู่ใต้แผ่นเข็มทิศดังภาพตัวอย่าง


ภาพตัวอย่างบริเวณที่วางก้านอลูมิเนียมเพื่อวัดทิศการรับดาวเทียม
   


นำเข็มทิศมาวางทาบดังภาพตัวอย่าง
    


ปรับหน้าจานโดยการใช้มือโยกส่ายหน้าจาน


          ปรับส่ายหน้าจานให้เข็มทิศฝั่งสีดำตรงกับตัว  S   และสีแดงของเข็มทิศตรงกับตัว N  เพียงเท่านี้หน้าจานก็จะหันหน้าไปทางดาวเทียมที่ต้องการจะรับแล้วละครับ

              เทคนิคการใช้เข็มทิศเพิ่มเติม


การปรับหาสัญญาณ กับเครื่องรับดาวเทียม
ในกรณีที่ใช้เครื่องรับ Dynasat Number 1
ต่อสายระหว่างจานดาวเทียมกับเครื่องรับให้เรียบร้อย
ที่เครื่องรับดาวเทียมต่อเข้าที่  IF IN
1. เปิดเครื่องรับไปที่ดาวเทียมไทยคม 2/3 C-BAND
2. เลือกช่องรายการที่ต้องการรับ
3. กดปุ่ม Singnal ที่รีโมท  หน้าเครื่องดาวเทียมจะแสดงความแรงของสัญญาณ
4. ค่อยๆปรับมุมก้มเงย  แบบช้าๆ ให้สัญญาณที่หน้าเครื่องรับได้สัญญาณสูงที่สุด
    ถ้ารับสัญญาณไม่ได้ตัวเลขจะเป็น 00  ถ้าเจอสัญญาณตัวเลขจะเริ่มขึ้น
5. ถ้าปรับไม่เจอสัญญาณให้ส่ายทิศที่ตั้งไว้ที่ละนิดไม่เกิน 1 มิลลิเมตร
     แล้วปรับมุมก้มเงยหาสัญญาณ  อย่าลืมนะครับให้ปรับแบบช้าๆ
6. เมื่อเจอสัญญาณแล้วควรปรับให้ได้ความแรงสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้

จุดปรับที่สามารถปรับได้แบบละเอียดอีกครั้งเพื่อเพิ่มความแรงของสัญญาณ
1. ที่มุมก้มเงย
2. ที่ทิศ  ส่ายหน้าจานเพื่อหาจุดที่รับสัญญาณได้สูงที่สุด
3. ปรับหมุนที่ตัว LNB เพื่อปรับให้การรับสัญญาณตรงแนวการส่งให้มากที่สุด
    โดยการปรับหมุนซ้ายหรือหมุนขวาแล้วสังเกตุที่ความแรงสัญญาณ
4. ปรับเลื่อนตัว LNB ขึ้นหรือลงเพื่อปรับหาระยะโฟกัสให้รับสัญญาณได้ดีที่สุด

คำเตือน  เมื่อเอามือไปปรับที่ LNB  สัญญาณที่อ่านได้จากหน้าเครื่องจะลดลง
              และเมื่อเอามือออกแล้วสัญญาณจะสูงขึ้นเหมือนเดิม
ขอให้ท่านที่สนใจติดตั้งเองลองดูนะ