วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ดาวเทียมไทยคม 4

จากการที่  บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการดาวเทียมเพื่อการสื่อสารชั้นนำแห่งเอเชีย  มีวิสัยทัศน์ที่สรรหาเทคโนโลยีผ่านดาวเทียมใหม่ๆ ที่เป็นแนวโน้มแห่งโลกอนาคตมาพัฒนาและประยุกต์ใช้งาน  บริษัทฯ จึงริเริ่มพัฒนาดาวเทียมรุ่นใหม่ที่เป็นบรอดแบนด์ทั้งดวงมาให้บริการ  นั่นคือ ดาวเทียมไทยคม 4 ซึ่งสามารถรองรับความต้องการใช้งานประเภทบรอดแบนด์ความเร็วสูงผ่านดาวเทียม ที่เป็นแนวโน้มของโลกยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี  นอกจากนี้  ในอดีตที่ผ่านมาต้นทุนค่าใช้จ่ายการใช้บริการบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมจะมีราคา สูงกว่าในระบบอื่นๆ เช่น ในระบบภาคพื้นดิน  บริษัท ไทยคม จึงได้คิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีไอพีสตาร์ขึ้นมาควบคู่กับการใช้ดาวเทียม บรอดแบนด์ไทยคม 4 โดยมีการจดสิทธิบัตรเทคโนโลยีไอพีสตาร์เป็นของบริษัทฯ เอง ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการรับส่งสัญญาณให้ดียิ่ง ขึ้น   และยังช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการใช้บริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงผ่านดาว เทียมเมื่อเทียบกับค่าบริการเมื่อใช้งานผ่านระบบดาวเทียมแบบ Conventional เช่นในปัจจุบัน
ดาวเทียมไทยคม 4 เป็นดาวเทียมเชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในขณะ นั้น   และยังเป็นดาวเทียมบรอดแบนด์ดวงแรกของโลกอีกด้วย  ดาวเทียมไทยคม 4 สามารถรับส่งข้อมูลได้ถึง 45 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) ซึ่งสูงกว่าดาวเทียมปกติถึง 20 เท่า ทำให้สามารถรองรับความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจำนวนมากนับล้าน คน

Specifications
 
การออกแบบ ดาวเทียมรุ่น LS-1300 SX
บริษัทผู้ผลิตดาวเทียม บริษัท สเปซ ซิสเต็มส์ ลอเรล ประเทศสหรัฐอเมริกา
กำลังไฟฟ้า 14,400 วัตต์ เมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน
น้ำหนักก่อนส่งขึ้นสู่วงโคจรในอวกาศ 6,505 กิโลกรัม
อายุการใช้งาน 16 ปี
จำนวนบีม Ku-Spot Beam 84 บีม
Ku-Shape Beam 3 บีม
Ku-Broadcast Beam 7 บีม  
ความสามารถในการรับส่งข้อมูล 45 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps)
เทียบเท่ากับมากกว่า 1,000 ทรานสพอนเดอร์ แบบความถี่ 36 เมกะเฮิร์ทซ์ ของดาวเทียมทั่วไป
ตำแหน่งวงโคจร 119.5 องศาตะวันออก
บริษัทนำส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร บริษัทเอเรียนสเปซ ประเทศฝรั่งเศส
วันที่กำหนดส่ง ดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร 11 สิงหาคม 2548
 
 
 
พื้นที่การให้บริการของดาวเทียมไทยคม 4
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น