วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เจาะลึกข้อมูลจานดาวเทียม

ตอนี้เรามาทำการรู้จักอุปกรณ์ก่อนติดจานดาวเทียมดีไหม
    ทาง อ.ส.ม.ท. ได้มีการทุมเงินงบประมาณและได้มีการระบุงบทุนวงเงินเป็นจำนวน 80 ล้าน เพื่อต้องการเพิ่มช่องรายการทีวีผ่านระบบดาวเทียมที่ ใช้ความถี่ c-band อีก 4 ช่อง และนี้คือหัวข้อข่าวล่าสุด ในยุคที่มีประธานบอร์ดชื่อ พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร สิ่งนี้ก็คือข้อบ่งชี้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ความต้องการบริโภคการรับชมสัญาณทีวีผ่านดาวเทียมนั้น มีความจำเป็นอย่างแน่แท้อย่างไร  เพราะเราจึงได้พยายามตอบรับท่านด้วยบทความ ที่มาจากผู้สันทัดกรณีโดยตรงเกี่ยวกับระบบการทำงานต่าง

     สวัดดีครับ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู้เนื้อหาสาระและความรู้เกี่ยวกับการทำงานของระบบจาน ดาวเทียมเพื่อรับรายการทีวี กันอีกครั้งหนึ่ง สำหรับแฟนประจำที่ชื่นชอบอะไรๆ เกี่ยวกับ นวตกรรมจานดาวเทียม ก็คงจะยังจำบทความเรื่อง "ชุดคิตเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม" ที่ทางบริษัทไดนาแซทได้เคยนำเสนอและนำมาออกขายให้หมู่นักชื่นชอบและทดลองติด ตั้งจานดาวเทียมเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่แล้วกันได้ บทความในครั้งนั้นได้สร้างความฮือฮา มากๆในหมู่นักเล่นเกี่ยวกับจานรับภาพทีวีผ่านดาวเทียมและทำให้เกิดความตื่น ตัว ในวงการอิเล็กทรอนิกส์และวงการดาวเทียมของประเทศไทย เป็นอย่างมากมาย และก็ผ่านมาพอสมควรถึงเวลาที่ต้องมาอัพเดท และเพิ่มพูนความรู้กันอีกครั้ง"สร้างเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ใช้เองกันดีกว่า"
  
     สำหรับบทความในชุดนี้ เราได้เตรียมบทความดีๆให้ท่านได้อ่าน กันอย่างจุใจต่อเนื่องถึง 12 ตอนกันเลยทีเดียว โดยเนื้อหาจะเน้นในเรื่องการสร้งความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการทำงานการและใช้อุปกรณ์ต่างๆการติดตั้งที่ถูกวิธีนั้นควรทำกัน อย่างไร และ รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างถูกวิธีและถูกขั้นตอน  และสามารถนำความรู้และทักษะต่างๆไปประยุกต์เพื่อให้ใช้ได้จริง อย่างช่างมืออาชีพ
  
     เนื้อหาในตอนที่ 1 จะเป็นปูพื้นฐานต่างๆให้ท่านที่ไม่เคยติดจานดาวเทียมมาก่อน และได้เรียนรู้การทำงานเบื้องต้นของอุปกรณ์ดาวเทียมต่างๆก่อนจากนั้นในตอน ที่2จะเริ่มลงมือติดจานรับสัญญาณจากดาวเทียม Thaicom2/3 ทั้งระบบ c-band และ ku-band ส่วนท่านที่ติดเป็นแล้ว ก็อย่าพึ่งเบื่อเสียก่อนคิดซะว่าเป็นบททบทวนความรู้ก็แล้วกันนะครับท่าน หลังจากนั้นเราก็จะมาเจาะลึกเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆของอุปกรณ์และตัวรวม ถึงเทคนิคการติดตั้งต่างๆ และการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดงานระบบดาวเทียมทั้งระบบ c-band และ ku-band
  
     ในปัจจุบันจานรับสัญญาณดาวเทียมได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากช่องสถานีรายการต่างๆนั้น ได้รับเปลี่ยนมาออกอากาศจากระบบอานาลอกเข้ามาสู่ระบบดิจิตอลกันหมดแล้ว ทำให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ได้จากการรับจากจานนั้น ดีกว่าในอดีตที่ผ่านมาค่อนข้างมาก รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆของตัวดาวเทียมเอง ก็ได้มีการพัฒนาให้มีกำลังส่งที่สูงขึ้น และขยายแบนด์วิดธ์(Band Width)ในการส่งให้กว้างขวางขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีการบีบอัดสัญญาณในระบบดิจิตอลที่เป็น m-peg2นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นไปอีก จึงมีผลทำให้เราสามารถรับชมช่องรายการ ทีวีผ่านระบบดาวเทียมได้มากขึ้น ในส่วนของผู้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆนั้นก็เช่นกัน เช่น จานดาวเทียม, LNBF ( low block down converter ) , และเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมยี่ห้อต่างๆ ก็เช่นกันมีการแข่งขันกันและพัฒนาประสิทธิภาพในการรับให้สูงขึ้น ในราคาที่ต่ำลงไปเรื่อยๆ และในส่วนของสถานีและผู้ผลิตรายการต่างๆนั้นก็เช่นกัน ก็กำลังให้ความสนใจที่จะเปิดสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมใหม่ๆเพิ่มอยู่ตลอด เวลา เนื่องจากต้นทุนในการออกอากาศผ่านทางดาวเทียมนั้น ต่ำกว่าการสร้างสถานีทวนสัญญาณในจังหวัดต่างๆและผลพลอยได้อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ สัญญาณที่ส่งผ่านดาวเทียมนั้น ยังกระจายครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ บนโลกได้กว้างไกลกว่าระบบสถานีทวนสัญญาณภาคพื้นดินอีกด้วย  และเหตุผลต่างๆที่ดีกว่าและที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือ การออกอากาศรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมนั้น ยังลดความยุ่งยากในการขอใบอนุญาตในนการตั้งสถานีทวนสัญญาณภาคพื้นดินได้อีก ด้วย เพราะส่วนใหญ่จะทำการอัพลิ้งค์(Uplink)หรือยิงสัญญาณขึ้นดาวเทียมจากประเทศ เพื่อนบ้าน หรือประเทศที่เปิดเสรีในการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม

    จากเหตุผลต่างๆข้างต้นนี่เอง เราอาจจะกล่าวได้ว่าเสาอากาศโทรทัศน์ที่ถูกติดตั้งบนหลังคาบ้าน น่าจะถูกแทนที่ด้วยจานดาวเทียมในเวลาอันใกล้นี้แล้ว แต่การขยายตัวอย่างรวดเร็ว ก็เป็นตัวเร่งให้เกิดการแข่งขันกันอย่างรุนแรงเช่นกัน ดังนั้นช่างติดตั้งจานดาวเทียม ก็จะต้องมีประสบการณ์ และความสามารถ สูงๆเช่นกัน เพื่อเตรียมพร้อมในการก้าวลงสู่สนามการแข่งขันงานดาวเทียมด้วย ในส่วนของผุ้บริโภคหรือลูกค้าก็คงอยู่เฉยๆไม่ได้แล้ว ควรหาข้อมูลและรายละอียดไว้ให้มากดีกว่าเพื่อเป็นประโยชน์ในการเลือกซื้อ เลือกตัดสินใจที่ตรงกับความต้องการให้มากที่สุด เพราะเราคงไม่ได้เปลี่ยนจานหรือเครื่องรับกันบ่อยนัก ในการลงทุนครั้งแรกนั้นจึงนับว่าสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะต้องเสียเงินซ้าซ้อนอีกต่อไป ตอนนี้ก็ได้เวลาที่จะมาทำความรู้จักกับ อุปกรณ์ต่างๆของเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมกันได้แล้วนะครับ

จานดาวเทียม(Satellite Dish)
     ในการรับสัญญาณทีวีผ่านดาวเทียมนั้น เราจะแบ่งประเภทของจานดาวเทียม ได้ตามลักษณะของการสะท้อนของสัญญาณจากดาวเทียมที่สะท้อนเข้าสู่จานได้ และสามารถแบ่งออกเป็นได้ 3 ประเภท ที่แสดงไว้ในรูปที่. คือ1. cassegrain . 2. prime fucus . 3.offset fucus



1.Cassegrain
รูปที่ 1 การสะท้อนสัญญาณ แบบ Cassegrain  จะเห็นได้ว่าสัญญาณขาลงจากดาวเทียม  ( down link ) ที่ถูกส่งลงมาจะกระทบหน้าจานดาวเทียม รูปทรง พาราโบล่า ไปยังที่จานก่อน และสัญญาณก็จะสะท้อน เข้าไปยังตัว reflect และสัญญาณจากตัว reflect ก็จะสะท้อนเข้าไปยังตัว LNBF อีกที ลักษณะโครงสร้างหน้าจานที่มีการสะท้อนสัญญาณ แบบ cassegrain นั้นปัจจุบัน จานดาวเทียมทีมีการรับสัญญาณเพื่อรับชมทีวีบ้านเรานั้นไม่นิยมใช้ หรือไม่มีใช้เลย เนื่องจาก ไม่สามารถรับสัญญาณได้ดีเท่าทีควร

2.Prime Fucus
รูปที่ 2 การสะท้อนสัญญาณ แบบ Prime Fucus  จะเห็นได้ว่าสัญญาณขาลงจากดาวเทียม หรือสัญญาณดาวลิงค์  ( down link ) ที่ถูกส่งลงมาจะกระทบหน้าจานดาวเทียม รูปทรง พาราโบล่า  และสัญญาณดาวเทียม ก็จะสะท้อนเข้าไปยังตัว LNBF ทีติดตั้งอยู่ที่จุดรวมโฟกัส  ลักษณะการออกโครงสร้างหน้าจานที่มีการสะท้อนสัญญาณ แบบ prime fucus นั้นปัจจุบันเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก สำหรับการออกแบบจานดาวเทียมเพื่อรับชมทีวี free2air  บ้านเราเองก็เช่นกันนิยมการออกแบบหน้าจานที่มีการรับสัญญาณสะท้อนแบบ prime fucus เนื่องจาก สามารถรับสัญญาณได้ดี รับสัญญาณสะท้อนมาจากหน้าจากตรงๆ ไม่ต้องติดตั้งตัว reflectให้ยุ่งยาก  และยังสามารถ โมดิฟาย เพื่อติดตั้ง หัว LNBF ทั้งแบบ c-band และแบบ ku-band เพื่อให้รับดาวเทียมเพิ่มได้หลายดวงอีกด้วย เช่น จานรับ DUO , TRIO , และ4หัว

3.Offset fucus
รูปที่ 1 การสะท้อนสัญญาณ แบบ offset fucus  จะเห็นได้ว่าสัญญาณขาลงจากดาวเทียม  ( down link ) ที่ถูกส่งลงมาจะกระทบหน้าจานดาวเทียม รูปทรง พาราโบล่า ในลักษณะการสะท้อนแบบ เฉียงๆ  และก็จะสะท้อนเข้าไปยังตัว LNBF อีกที ลักษณะโครงสร้างหน้าจานที่มีการสะท้อนสัญญาณ แบบ offset fucus นั้นปัจจุบัน เป็นที่นิยมจากในระบบ ku-band  และการรับสัญญาณที่มีการสะท้อนแบบoffset fucus นั้น ก็จะนิยมใช้เพื่อรับสัญญาณทีวีผ่านดาวเทียมเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เคเบิ้ลทีวีที่เป็นระบบ ku-band อย่างเช่น true vision thailand และ astro cable malaysia , การรับสัญญาณแบบ offset fucus ก็เช่นกัน สามารถ โมดิฟาย ติดหัว LBNFเพิ่มเพื่อให้สามารถรับดาวได้หลายดวงเช่นกัน แต่ข้อจำกัดนั้นดาวเทียมแต่ละดวงจะต้องไม่อยู่ห่างกันมาก  ข้อดีของการสัญญาณ ลักษณะ offset fucus นั้นมีหลายอย่างเช่นกัน คือสามารถออกแบบให้มีจานที่ขนาดเล็ก และเหมาะกันสัญญาณขาลง ( down link ) ที่มีความถี่สูงๆ เช่นความถี่ช่วง ku-band  ข้อเสียก็มีเช่นกัน คือการloss ของสัญญาณที่ผ่านชั้นบรรยากาศนั้นมีมากกว่า


      แต่ส่วนใหญ่แล้วในวงการดาวเทียมบ้านเรา  การติดตั้งจานเพื่อการรับชมทีวีผ่านดาวเทียมตามบ้าน ร้านค้า หรือทั่วไปนั้น ช่างติดตั้งงานดาวเทียม มักจะแบ่งประเภทจานดาวเทียม ออกไปตามลักษณะ ย่านความถี่ที่ใช้งาน คือ
       1.จานC-Band ( ซีแบนด์ )  ลักษณะเป็นจานโปร่งๆ ตะแกงดำ เส้นผ่าศูนย์ประมาณ 5ฟุต ถึง 10ฟุต
       2.จานKU-Band ( เคยู-แบนด์ ) ลักษณะเป็นจานทึบใบเล็ก เส้นผ่าศูนย์ประมาณ 2ฟุต ถึง 5ฟุต

       และบางทีจานC-Band เองยังถูกแบ่งย่อยออกไปอีก เป็นจาน 1.c-band แบบทึบ และจาน  2.c-bandแบบโปร่ง อีก  และยังสามารถแยกย่อยออกไปอีก ได้ตามลักษณะของการติดตั้งจานได้อีก เช่น จานแบบฟิกซ์รับดวงเดียว หรือ จานแบบมูฟติดมอเตอร์ขับจานรับดาวเทียมได้หลายดวง 

      โดยหลักๆแล้วจานดาวเทียมจะทำหน้าที่สะท้อนสัญญาณ และรวมสัญญาณไปยังจุดโฟกัส โดยปกติแล้วจานที่ใหญ่กว่านั้นควรจะมีเกน (Gain)ในการรับสัญญาณที่สูงกว่า แต่ก็ไม่แน่เสมอไปขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของจานด้วย ตัวอย่างเช่นจานดาวเทียม ยี่ห้อหนึ่ง ขนาด 5.5 ฟุต สามารถรับสัญญาณได้ดีกว่าจาน 7 ฟุต ของบางยี่ห้อทีมาจากเมืองจีนอีก นอกจากนี้การมีความเชื่อแบบเก่าๆ ว่าจานแบบทึบสามารถรับสัญญาณได้ดีกว่าจานแบบโปร่ง อีก แต่ข้อเท็จจริงอาจไม่เป็นอย่างนั้น

รูปตัวอย่างจานดาวเทียม แบบต่างๆ และยี่ห้อต่าง ทั้งแบบ c-band และ ku-band

จานทึบ1 จานทึบ2 จานทึบ3 จานทึบ4 จานทึบ5 จานทึบ6 จานโปร่ง7 จานโปร่ง8
จานระบบ KU-BAND ยี่ห้อ DTV เหมาะสำหรับรับดาวเทียม thaicom2&5 ku-band จานระบบ KU-BAND ยี่ห้อ samart เส้นผ่าศูนย์กลาง64cm เหมาะสำหรับรับดาวเทียม thaicom2&5 ku-band  จานระบบ จานระบบ KU-BAND ยี่ห้อ UBC เส้นผ่าศูนย์กลาง75cm เหมาะสำหรับรับดาวเทียม thaicom2&5 ku-band, และดาว NSS6 ระบบ ku-band จานระบบ KU-BAND ยี่ห้อ SAMART เส้นผ่าศูนย์กลาง75cm เหมาะสำหรับรับดาวเทียม thaicom2&5 ku-band, และดาว NSS6 ระบบ ku-band จานระบบ C-BAND ยี่ห้อ AMPAI  แบบทึบ เส้นผ่าศูนย์กลาง 130cm เหมาะสำหรับรับดาวเทียม thaicom2&5 c-band จานระบบ C-BAND ยี่ห้อ PSI  แบบทึบ เส้นผ่าศูนย์กลาง 130CM,150CM,170CM,185CM,200CM,227cm เหมาะสำหรับรับดาวเทียม thaicom2&5 c-band จานระบบDUO
ku-dtv ku-samart ku-astro ku-ubc ku-samart c-band ทึบ c-band psi duo c-ku


LNB (Low Noise Block Down converter with Feed Horn)
     ชื่อเต็มๆ ค่อนข้างจะยาวสักนิดไม่ต้องจำก็ได้  ปัจจุบันนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า LNB เจ้าตัว LNB นี้จะถูกติดตั้งไว้ที่จุดโฟกัสของจานดาวเทียม สัญญาณที่มารวมกันที่จุดโฟกัสจะเข้าไปตามท่อนำสัญญาณ"เวฟไกด์" (Wave guide) และผ่านเข้าไปยังเสาอากาศต้นเล็กๆ จากนั้นวงจรขยายสัญญาณภายในตัว LNB จะทำหน้าที่ขยายสัญญาณดาวเทียมให้แรงขึ้นแล้วส่งต่อไปยังวงจรแปลงความถี่ (Ferquency Down Converter)ให้มีความถี่ต่ำลง เพียงพอที่จะส่งรับสัญญาณไปตามสายนำสัญญาณ ชนิด( สาย RG6 )ได้

     หากไม่แปลงความถี่ให้ต่ำลง สัญญาณดาวเทียมที่มีความถี่จะสูงขึ้นมาก  จะวิ่งไปในสายนำสัญญาณได้เพียงระยะทางสั้นๆเท่านั้น ในปัจจุบัน LNBF แบบ C-Band จะมีหลายแบบหลายยี่ห้อ และมีหลายแบบให้เลือกใช้ เช่น เอาต์พุตเดียว หรือ LNB C-band 1หัว , สองเอาต์พุต  หรือ LNB C-band 2หัว, และ 4เอาท์พุต หรือ LNB C-BAND 4หัว ส่วนหัว LNB ชนิด KU-bnad ก็เช่นกัน มี่หลายยี่ห้อหลาย o/p ให้เลือกเหมือนกัน  เช่น LNB-KU 1หัว , LNB-KU 2หัว , และ LNB-KU 4หัว ชนิด KU-band ที่มีใช้กันอยู่ในเมืองไทยนั้น จะสามารถแยกออกเป็น หลักได้ 2ชนิด คือ 1.หัวแบบ universal และ 2.หัวแบบ 11300

รูปตัวอย่าง LBN รุ่นต่างๆ ตั้งแต่ 1 output  2output 4output ทั้งแบบ c-band และ ku-band


รูป1LNB รูป2LNB รูป3LNB รูป4LNB รูป5LNB รูป6LNB รูป7LNB รูป8LNB
c-band1หัว c-band2หัว c-band4หัว ku-1หัว ku-1หัว ku-1หัว ku-1หัว ku-4หัว


สายนำสัญญาณ (Coaxial Cable)
     ส่วนใหญ่งานติดตั้งจานดาวเทียมทั้วๆ ไปเรานิยมใช้สายนำสัญญาณ ขนาด RG-U6ซึ่งมีอิมพีแดนซ์หรือz(lmqedance)เท่ากับ75 โอห์ม เนื่องจากมีขนาดเล็ก ติดตั้งเดินสายได้ง่าย นำสัญญาณ คลื่นความถี่สูงได้ดี หน้าที่ของสายนำสัญญาณคือนำพาสัญาญาณจาก LNBF ซึ่งมีความถี่ IFหรือ intermedia frequency ในช่วง 950-2050 MHz ส่วนใหญ่ความยาวในการwireสายจาก LNBFไม่ควรเกิน 50 เมตร แต่จากการทดลองใช้จริงๆ สัญญาณจาก LNBF อาจเดินสายได้ไกลถึง 100 เมตร ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของจานดาวเทียม ยี่ห้อจานดาวเทียม และเกนการอัตตราการขยายของตัว LNBF ด้วย แต่หากไกลกว่านี้จำเป็นจะต้องติดตั้งตัวขยายสัญญาณ (Inline Amplifier) ก่อนเพื่อชดเชิยสัญญาณ loss อันเนื่องการการเดินสายนำสัญญาณยาวเกินไป
    
      อัตราการ LOSS ของการสัญญาณนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น
    1. ยี่ห้อ ของสายสัญญาณ ยี่ห้อของสายนำสัญญาณที่ดีนั้น จะทำมาจากวัสดุที่ดีกว่า เช่นเปอร์เซ็นต์ของทองแดงดีกว่า , inner หรือแกนกลางของสาย RG6หนากว่า ก็จะทำให้สามารถนำสัญญาณได้ดีกว่า อัตราการ loss น้อยกว่า
   
    2. shield ของสายนำสัญญาณ ถ้าชีลล์ของสายนำสัญญาณทีมีเปอร์เซนต์ชีลล์ มากๆ ก็จะสามารถกันสัญญาณรบกวนจากภายนอกได้ดีกว่า ผลต่อเนื่องจึงทำให้ loss น้อยลงจึงสามารถนำพาสัญญาณได้ดีกว่า
   
    3. ความถี่ของตัวสัญญาณเอง ความถี่ของสัญญาณนั้นมีผลต่ออัตราการ loss ของสายนำสัญญาณคือ  ความถี่ที่สูงกว่าจะมีอัตราการ loss ของสัญญาณมาก กว่าความถี่ที่ตำกว่า  ตัวอย่างเช่น ถ้าเราลองส่งสัญญาณทีวี ย่าน VHF และUHF จากต้นทางโดยสัญญาณ จากต้นทางทีวัดได้ 100dbu ( dbu = เดซิเบลไมโครโวลล์ ) เท่ากัน และส่งสัญญาณ ออกไปตามสายนำสัญญาณด้วยความยาวที่ 100 เมตรเท่ากัน ถ้าเราลองเอา เครื่องวัดความแรงสัญญาณทีวี มาลองวัดดูที่ปลายสาย จะเห็นได้ว่าความแรงของสัญญาณที่ออกมาจากปลายสายของความถี่ย่าน VHF จะวัดได้มากกว่า ย่าน UHF
   
    4.ค่าความต้านทานในตัวสายเอง หรือค่ารีซีสเตนท์ มีหน่วยเป็นโอมห์ สายที่คุณภาพดีจะมีเปอร์เซ็นต์ของทอง แดงสูงทองแดง ซึ่งจะมีผลทำให้ค่าความต้านทานน้อยลงด้วย
    
     สายนำสัญญาณสำหรับจานดาวเทียมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2ลักษณะการใช้งาน คือ   
         1.สายนำสัญญาณ สำหรับจาน fix อยู่กับที่ โดยทั่วไปก็จะนิยมใช้สายโคเอ็กเชียล ที่มีค่า z ( อิมพีแดนซ์ 75โอมห์ )
         2.สาย นำสัญญาณสำหรับจานแบบมูฟ หรือจานที่สามารถปรับรับได้หลายดวงโดยอัตโนมัต หรือสาย TVRO ลักษณะของสาย จะเป็น สายนำสัญญาณ RG6ที่ติดอยู่กับสาย 4core  ซึ่งทำหน้าที่นำพาสัญญาณจากLNBF เข้าไปยัง รีซีฟเวอร์ และ นำกำลังไฟฟ้าไปขับเคลื่อนมอเตอร์ขับจานที่ติดอยูใต้หน้าจาน
   
 สาย นำสัญญาณทีมีคุณภาพที่ดี ที่เมืองไทยนิยมใช้ จะมีอยู่ หลายยี่ห้อเช่นกัน เช่น ยี่ห้อ BELDEN , COMSCOPE , DBY ตัวสเปกสูง และ ect.

รูปตัวอย่างสายนำสัญญาณ






สายRG6 สายRG6 สายTVRO






เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม(Satellite Receivre)
    
       เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมหรือตัวรีซีฟเวอร์ ในบางครั้งอาจจะถูกเรียกว่า เซ็ตท็อปบ็อกซ์(Srt Top Box)หรืออาจจะถูกเรียกว่า IRD(Integreated Receiver&Decoder) แต่โดยรวมแล้วก็คือเครื่องรับสัญญาณเหมือนกัน เพียงแต่อาจจะมีฟังก์ชั่น การทำงาน หรือคุณสมบัติบางอย่างที่แตกต่างกันออกไปบ้างเท่านั้น หน้าที่ของเครื่องรับสัญญาณ ดาวเทียม คือ จะแปลงสัญญาณ IF ที่วิ่งลงมาตามสายนำสัญญาณให้ออกมาเป็นภาพและเสียง

เครื่องรับสัญญาณจานดาวเทียมระบบ Analog ( ปัจจุบันไม่มีวางขายในตลาดแล้วเนื่องจากหมดสมัย )                        เป็น เครื่องรับสัญญาณที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณที่รับได้จากดาวเทียมผ่านหัวLNB  ออกมาเป็น ภาพและเสียงโดยตรง  ขั้นตอน จะไม่ยุ่งยาก  ระบบAnalogนี้หากว่าสัญญาณที่รับได้มีความแรงของสัญญาณที่เพียงพอ ภาพที่ได้ก็จะมีความคมชัด  แต่หากว่าสัญญาณที่ได้อ่อน  ภาพที่ได้จะไม่ชัดและเป็นเม็ดเม็ด คล้ายสายอากาศทีวีที่ภาพไม่ชัด  เพราะฉะนั้นการรับชมภาพที่ใช้เครื่องรับ สัญญาณระบบอะนาลอกค์นั้น หน้าจานยิ่งใหญ่ภาพก็ยิ่งชัด  การรับภาพในระบ Analog สำหรับการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม  ใน 1 ช่องดาวเทียม ( ช่องทรานสปอนเดอร์ ) จะส่งรายการทีวีได้ 1 ช่องรายการ  หรือถ้าบีบอัดสัญญาณก็จะได้ที่ 2 ช่องรายการแต่คุณภาพที่ได้จะไม่ดีเท่าที่ควร  ปัจจุบันระบบนี้ไม่นิยมใช้กันแล้ว
เครื่องรับสัญญาณจานดาวเทียมระบบ Digital ( ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากเนื่องจากคุณภาพภาพที่ได้ชัดเจนและราคาถูก )                    
                      เครื่องรับดาวเทียมระบบ Digital  เป็นเครื่องรับดาวเทียม  ที่รับสัญญาณจากดาวเทียมที่ส่งสัญญาณแบบ  ดิจิตอล  แล้วทำการแปลงสัญญาณข้อมูลด้วยระบบถอดรหัสแบบ Digtal ให้เป็นภาพและเสียงที่สมบูรณ์แบบ  ระบบการบีบอัดข้อมูลสัญญาณที่ใช้ในระบบดาวเทียมที่เป็นDigital คือการบีบอัดข้อมูลระบบ  MPEG-II  เป็นระบบถอดรหัสแบบเดียวกันกับเครื่องเล่น DVD ซึ่งให้ความคมชัดมาก   ทั้งระบบภาพและเสียง แถมยังไม่เปลืองข้อมูลอีกด้วย
                       สำหรับ การรับสัญญาณระบบ Digital ในกรณีที่สัญญาณที่รับได้จากระบบดาวเทียมมีความแรงสัญญาณต่ำ  ถ้าเป็นแบบระบบเดิมภาพที่ได้จะไม่ชัดและเป็นลักษณะเม็ดเม็ด  แต่ถ้าเป็นระบบ Digital ระบบจะยังคงประมวลผลได้  และระบบภาพเสียงที่ได้ก็จะยังคงความคมชัดอยู่เหมือนเดิม ( ยกเว้นสัญญาณที่รับได้อ่อนมากๆหรือต่ำเกินไป ) ภาพจะมีอากาณคล้ายๆกับ แผ่น ซีดีที่มีรอยมากๆ
                       ในส่วนการรับส่งสัญญาณใน 1 ช่องทรานสปอนเดอร์   สำหรับระบบ Digital สามารถบีบอัดสัญญาณช่องรายการโทรทัศน์ได้มากถึง 4 - 8 ช่องรายการ   ต่อ 1 ช่องทรานสปอนเดอร์   ด้วยระบบการบีบอัดในแบบ Digital ทำให้การเช่าช่องส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมจึงไม่จำเป็นต้องเช่าทั้ง ทรานสปอนเดอร์  แบ่งเช่าได้ทำให้มีราคาการเช่าที่ถูกลง  และช่องรายการโทรทัศน์ช่องต่างๆทั้งในและต่างประเทศ   จึงนิยมใช้ระบบนี้กันอย่างรวดเร็วและแพร่หลาย  ปัจจุบันช่องรายการผ่านดาวเทียมมีมากถึง 400 กว่าช่องรายการ  และในอนาคตคาดว่าจะมีมากขึ้นอีก  ปัจจุบันเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมแบบ Digital นั้นเป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากคุณภาพภาพที่ได้มีความคมชัดสูง อีกทั้งราคาของตัวรีซีฟเวอร์เองก็ยังมีราคาที่ถูกลงทุกวันๆ

เครื่องรับสัญญาณจานดาวเทียมระบบ Digital move ( ปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมอย่เนื่องจากสามารถรับได้หลายดวง )                   
                      เครื่องรับดาวเทียมแบบ MOVE หรือ เครื่องรับดาวเทียมแบบมีระบบขันเคลื่อนจานอยู่ในตัวเครื่อง  จะมีวงจรหมุนจานดาวเทียมแบบอัตโนมัติโดยจะออกแบบให้มีระบบจำต่ำแหน่งของดาว เทียมได้   และจะทำงานสัมพันธ์กันกับระบบช่องรายการที่เลือกรับชม    เมื่อเวลาที่ผู้ใช้เครื่องกดปุ่มช่องรายการ   ตัวจานจะหมุนไปหาต่ำแหน่งดาว เทียมเองอย่างอัตโนมัติ   ทำให้ระบบนี้รับช่องรายการได้มากเพราะสามารถใช้จานใบเดียวรับช่องดาวเทียม มากกว่า15ดวง   และยังสามารถค้นหาช่องรายการดาวเทียมหรือดาวเทียมดวงใหม่ๆเพิ่มเติมได้ด้วย ตัวผู้ใช้เอง  อีกทั้งยังใช้ระบบ อินเตอร์เน็ต  ช่วยในการค้นหาช่องรายการใหม่ๆได้อีกด้วย  เว็บไซด์ที่เกี่ยวกับช่องรายการทีวีผ่านดาวเทียมคือ www.lyngsat.com , www.satcodx.com
          ปัจจุบันดาวเทียมส่วนใหญ่(กว่า99%)ส่งสัญญาณในระบบ Digtal ดังนั้นเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมที่มีจำหน่าย ในปัจจุบันจึงเป็นระบบ Digtal กันหมดแล้ว เวลาเดินเข้าร้านจำหน่ายจานดาวเทียม ไม่ต้องถามคนขายว่า เครื่องนี้ระบบอะนาล็อกหรือดิจิตอล เพราะพนักงานบางคน ที่พึ่งเริ่มทำงานได้ไม่นาน อาจจะงงว่ามันคืออะไร รายละเอียดที่ลึกมากกว่านี้รวม ทั้งการทำงานของวงจรต่างๆ ภายในเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ผู้เขียนขออธิายใน
ตอนต่อๆไป



  topfield6300ir
ตัวอย่างรีซีฟเวอร์ ระบบดิจิตอล  เพื่อรับ เคเบิ้ลทีวีสำหรับประเทศ ของ true vision รุ่น topfield 6300ir คุณสมบัติที่เด่นชัดคือ ใช้สำหรับรับเคเบิ้ลทีวีของ true vision ตัวรีซีฟเวอร์นั้นถูก SET programm เพื่อให้ใช้กับการ์ด ture vision ในระบบ irdeto เท่านั้น ไม่สามารถนำเครื่องไปรับเคเบิ้ลทีวีที่เป็นระบบอื่นๆได้ ตัวรีซีฟเวอร์เองก็เช่นกันไม่สามารถจูนช่องรายการทีส่งมาเป็น free2air ได้ ไม่สามารถนำเครื่องไปจูนรับรายการทีวีที่อากาศทั้งระบบ c-band & ku-band free2 air ได้

 samart coship
ตัวอย่างรีซีฟเวอร์ ระบบดิจิตอล เพื่อรับเคเบิ้ลทีวีของบริษัท สามารถวิศวกรรม รุ่น coship ที่มีช่องเสียบการ์ด คุณสมบัติเด่นก็คือสามารถรับช่อง NBT เคเบิ้ลทีวีได้ ตัวรีซีฟเวอร์เองก็สามารถรองรับการ์ดของบริษัท ture visionได้เช่นกัน และสามารถนำรีซีฟเวอร์ไปจูนรับ เคเบิ้ลทีวีของประเทศอินโดนีเซียและอาฟริกาใต้เช่นกันแต่ก็ต้องมีการ์ด สมาชิกด้วยนะครับ ตัวรีซีฟเวอร์สามารถนำไปจูนรับช่อง free2air ได้ทั้ง c-bandและku-band  สัญญาณภาพขาออก ก็สามารถเลือกใช้ได้หลายแบบ เช่น AV o/p , RF radio frequency o/p , s-vdo o/p , และ componant o/p

       IPM801
ตัวอย่างรีซีฟเวอร์ ระบบดิจิตอล เพื่อรับเคเบิ้ลทีวีของบริษัท b-sat รุ่น ipm801 คุณสมบัติเด่นก็คือสามารถรับช่องเคเบิ้ลทีวี ipm1-8ได้ จากระบบ c-band ที่ดาวไทยคม 2&5  ตัวรีซีฟเวอร์สามารถนำไปจูนรับช่อง free2air ได้ทั้ง c-bandและku-band  สัญญาณภาพขาออก ก็สามารถเลือกใช้ได้หลายแบบ เช่น AV o/p , RF radio frequency o/p , ในตัวรีซีฟเวอร์มี่ function สามารถรองรับหน้าจานได้มากถึง4ใบ โดยการset ค่า switchอิเลคทรอนิกส์ในตัวโปรแกรม ให้กับ disecq เพือswitch ว่าจะรับสัญญาณจากหน้าจานใบใด

   SSTAR SR3
ตัวอย่างรีซีฟเวอร์ ระบบดิจิตอล เพื่อรับชมช่องรายการฟรีทีวี ทั้งระบบ c-band และ ku-band ของบริษัท โพลีแซท รุ่น sstar sr3 คุณสมบัติ เด่นก็คือสามารถจูนรับช่อง free2airได้ ทั้ง c-bandและku-band  สัญญาณภาพขาออก ก็สามารถเลือกใช้ได้หลายแบบ เช่น AV o/p , RF radio frequency o/p แต่ฟิกซ์ไว้ที่ ช่องเดียว , ในตัวรีซีฟเวอร์มี่ function สามารถรองรับหน้าจานได้มากถึง4ใบ โดยการset ค่า switchอิเลคทรอนิกส์ในตัวโปรแกรม ให้กับ disecq เพือswitch ว่าจะรับสัญญาณจากหน้าจานใบใด เหมาะสำหรับลูกค้าที่เน้นดูช่องฟรีจากดาวเทียมดวงต่างๆ

    F1-MOVE
ตัวอย่างรีซีฟเวอร์ ระบบดิจิตอล แบบ มูฟจานเพื่อให้รับดาวเทียมได้หลายดวง  หรือสำหรับจานมูฟ ในตัวรีซีฟเวอร์จะมี ชุดขับมอเตอร์ขับจานสำหรับขับเคลื่อนจานไปยังดาวเทียมดวงต่างๆที่ต้องการของ บริษัท ไดน่าเซ็ท รุ่น F1-move  ตัวรีซีฟเวอร์มีโมดูลช่อง เสียบการ์ด สามารถรองรับระบบ เคเบิ้ลทีวีได้ทุกระบบ คุณสมบัติเด่น ของรีซีฟเวอร์ตัวนี้ก็คือ เป็นรีซีฟเวอร์สำหรับจานมูฟ และ สามารถใส่ คีย์โคด เพื่อถอดรหัส เคเบิ้ลทีวีจากประเทศฟิลิฟปินส์ได้ ซึ่งมีรายการคล้ายเคเบิ้ลทีวีบ้านเรา  สามารถนำไปจูนรับช่อง free2air ได้ทั้ง c-bandและku-band ได้ทุกดวง  สัญญาณภาพขาออก ก็สามารถเลือกใช้ได้หลายแบบ เช่น AV o/p , RF radio frequency o/p


 acutaulator
อุปกรณ์ที่สำคัญมากอีกตัวหนึ่งสำหรับการติดตั้งจานดาวเทียมแบบมูฟเพื่อให้สามารถรับดาวได้หลายดวง ก็คือ มอเตอร์ขับจานหรือ Actualator ตัวมอเตอร์ขับจาน จะมีแกนกลางสำหรับยืดหรือหดได้ การติดตั้งมอเตอร์นี้เราจะทำการติดตั้งปลาย ของมอเตอร์ยึดติดกับคอจานแบบมูฟ  ขนาดของมอเตอร์ขับจานนั้นก็มีให้เลือกหลายขนาด เช่น ขนาด 18นิ้ว , 24นิ้ว , 36นิ้ว มีทั้งแบบ ตัวอ้วน และตัวผอมให้เลือก  การหน้าที่ของมอเตอร์ขับจานก็คือ แกนมอเตอร์ขับจานนั้นจะถูกยืดหรือหด ตามแหน่งของดาวเทียม ที่ถูกกำหนดโดย รีซีฟเวอร์

                       ถึงตอนนี้ทุกท่าน คงพอเข้าใจการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ กันพอสมควรแล้ว ทีนี้เรามาดูเครื่องมือสำหรับการติดตั้งกันบ้าง เครื่องมือสำหรับการประกอปการติดตั้งที่ใช้กันประจำได้แก่ สว่านไฟฟ้า ประแจ คีมตัด ไขควง ตัววัดมุม เข็มทิศฯลฯ
ในฉบับต่อไปจะติด ตั้ง และทดลองปรับจานไปรับรายการโทรทัศน์จากดาวเทียม Thaicom 2 และ Thaicom 5 กันรับประกันว่าไม่ยากมือใหม่ก็ทำได้



การสำรวจและวิเคราะห์การติดตั้งจานสัญญาณดาวเทียม
    
    
การ ติดตั้งจานดาวเทียมก็มีฮวงจุ้ยของมันเองด้วยมันเองด้วยเหมือนกัน ทั้งนี้เพื่อทำให้การรับในการปัจจุบันและอนาคตรับสัญญาณได้ดี ไม่ต้องเซอร์วิสมาก ทั้งต้องทำความเข้าใจ เพื่อแก้ไขความเชื่อผิดๆ ในการติดตั้งด้วยความจริงทางวิทยาศาสตร์ที่ท่านสามารถเข้าใจ ทำได้... ทำได้ดีแบบมืออาชีพ

    
จากบทความในฉบับที่ ผ่านมา มีเสียงตอบรับกลับเข้าไม่มากมายทีเดียว หลายๆท่านสนใจที่จะติดตั้งไว้เพื่อดูเองที่บ้าน แต่ก็มีอีกจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่สนใจจะยึดเป็นอาชีพอาจจะเป็นเพราะช่วงนี้ เรื่องโทรทัศน์และทีวีดาวเทียมมีประเด็นเด่น ประเด่นร้อน อย่หลายเรื่องที่ทำให้ผู้คนในสังคม ได้วิพากษ์วิจารณ์กันค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องการกระทรวงใดมีอำนาจในการออกนโยบายเกี่ยวกับ เรื่องดาวเทียม ส่วนช่องรายการ ITV ที่เหลือแต่เพียงตำนานให้เราได้จดจำกัน ซึ่งปัจจุบันถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรายการช่องสถานีเป็น TITVเรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่ในอนาคต รายการช่องTITV ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะลงเอยอย่างไร รวมทั้งประเด็นร้อน เรื่องราวการทุจริตที่ถูกตีแผ่ โดยสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV อย่างต่อเนื่องจนดูรู้สึกเหนื่อยแทนคนจัดรายการ และล่าสุดน้องใหม่อย่าง PTV ที่เริ่มออกอากาศผ่านช่อง MVTV1 จากดาวเทียม THAICOM 2/5 ของเทมาเสกประเทศสิงคโปร์(ไม่ได้พิมพ์ผิดนะก็เขาถือหุ้นใหญ่นี่ครับ)

     เรื่องราวร้อนๆเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับทีวีผ่านดาวเทียมทั้งนั้น และมีให้รับชมผ่านชมผ่านดาวเทียมทั้งนั้น จากเหตุการ์ณต่างที่เกิดขึ้นอย่างนี้ ณ.ปัจจุบัน คงจะไม่ผิดนักที่จะเรียกช่วงเวลานี้ ว่าเป็น ยุคดาวเทียม หากกล่าวให้เป็นขั้นตอน สรุปเป็นข้อๆ ดังนี้



รูปที่1
อันดับ แรกก่อนการติดตั้งจาน ควรสำรวจสถานที่ติดตั้ง ก่อนจะทำให้ติดตั้งจริง และควรพิจารณาจุดที่จะติดตั้งด้วยความรอบคอบ งานที่ออกมาจะได้ไม่ทำให้ท่านลูกค้าผิดหวัง

ต้องเสียเวลาตากแดด ครึ่งชั่วโมง เป็นอย่างน้อย เพื่อตั้งเสาให้ได้ฉากเป๊ะๆโดยใช้แหวนรองที่ฐานจานทีละจุด เพื่อเสาตั้งฉากกับพื้นโลก เมื่อเวลาผ่านไปนาน
แหวนรองเกิดเป็นสนิมทำให้หน้าจานเคลื่อนอาจถึงขั้นรับไม่ได้เลยอย่าเป็นช่วงหน้าหมองอย่างนั้นเลย มีวิธี..."


หลักเกณฑ์ต่างๆที่ควรพิจารณาก่อนติดตั้งจานดาวเทียม
     (1.)ทิศทางของการตั้งหน้าจาน ต้องดี ไม่มีสิ่ง กีดขวาง ไม่มีอะไรมาบดบัง ทิศทางการรับสัญญาณ ช่างติดตั้งจะต้องทำงานไสดวก ไม่ลำบากจนเกินไป เพราะเผื่อมีปัญหา ใดๆเกิดขึ้นจะได้ ทำการเซอร์วิสท์ โดยสะดวก ทิศทางการติดตั้งควรสามารถหันไปรับดาวเทียมดวงนั้นๆได้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ เพราะในอนาคตท่านอาจต้องการปรับจานไปรับดาวเทียมดวงอื่นๆอีก หรืออาจจะมีดาว เทียมดวงใหม่ๆ ส่งขึ้นไปในวงโคจรท่านจะได้ไม่ต้องย้ายจุดติดจานบ่อยๆโดยทิศทางที่หันไปรับ จานดาวเทียม จะต้องไม่มีสิ่งปลูกสร้างหรือต้นไม้มาบดบัง

     (2)จุดที่ยึดเสาตั้งจานควรจะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ( ถ้าสามารถเลือกได้ ) เพื่อ ความแข็งแรงของการติดตั้ง จุดที่เหมาะที่สุดในการติดตั้งจาน ก็คือพื้นระเบียงที่ได้มาตรฐาน เรื่องนี้ค่อนข้างสำคัญมาก เพราะบางท่านคิดว่า การติดตั้งจานบนพื้นดินโดยใช้แท่นปูนวางบนพื้นดินเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว โดยไม่มีการฝังเสาเข็มเสริมคอนกรีส  พอระยะเวลาผ่านไปสักไม่กี่เดือน ดินที่ว่างคอนกรีต เพื่อติดตั้งจานนั้น เกิดการทรุดเพราะถูกน้ำฝนกัดกร่อนหรืออาจเกิดจากน้ำท่วม ทำให้ต้องมาแก้ปัญหากันให่ม ซึ่งอาจทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไขนั้นสูงกว่าการติดตั้งที่ได้มาตรฐาน การทำครั้งแรกไปเลย

     (3)จุดที่ตั้งจานไม่ควรอยู่ในจุดที่อาจจะเป็นอันตรายได้ เช่นไม่ควรติดใกล้สายไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้า หรือเสาไฟฟ้าแรงสูง การติดตั้งจานควรห่างๆพวกนี้ไว้เป็นดี และไม่ควรติดตั้งจานดาวเทียมในจุดที่เสี่ยงและอันตราย เพราะ ท่านอาจจะพลาดพลั้งตกลงมาได้ อีกทั้งยังต้องเผื่อเอาไว้ได้ว่า ในอนาคตท่านอาจจะต้องกลับขึ้นไปเปลี่ยนอุปกรณ์หรือปรับหน้าจานใหม่อีก  รวมทั้งควรติดตั้งจานดาวเทียมให้ห่างจากบริเวณที่จอดรถด้วย เพราะในบางครั้งที่ท่านดื่มมากไปหน่อยอย่าว่าแต่จานดาวเทียม รั่วบ้านยังไม่รอดเลย

     (4)จุดที่ติดตั้งจานไม่ควรจะอยู่ห่างจากจุดที่จะต้องติดเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมมากนัก  ยิ่งสามารถติดตั้งจานดาวเทียมได้ใก้ลเครื่อง รีซีฟเวอร์ มากเท่าไรก็ยิ่งดี  เพราะการเดินสายนำสัญญาณยิ่งใกล้เท่าไหร่ อัตราการ loss ของความสูญเสียหายไปในสายมากเท่านั้น โดยปรกติ ช่างมักจะเดินสายยาวไม่เกิน 25 เมตร

     (5)หลีกเลี่ยงการติดจานในบริเวณที่เป็นช่องทางผ่านของลม และควรหลีกเลี่ยงที่จะติดจานในจุดที่เป็นช่องผ่าน

     (6)ติดตั้งให้ห่างจากมือเด็กเข้าไว้ บ่อยครั้งที่ลูกๆของท่านใช้จานดาวเทียมเป็นอุปกรณ์ปีนป่ายแบบเดียวกันกับ สนามเด็กเล่นหรือในบางครั้งคุณบ้านอาจจะใช้เป็นที่ตากปลาตากเนื้อแดดเดียว หรือตากปลาหมึก นับว่าเป็นจานสารพัดประโยชน์เลยทีเดียว หากหลีกเลี่ยงได้จะช่วยลดภาวะในการเซอร์วิสลงได้มากจากเหตุผลข้างต้น การเลือกฮวงจุ๊ยที่ดีจึงต้องเป็นความได้เปรียบส่งผลไปถึงอนาคตในอีกหลายสิบ ปีเลยทีเดียว...ฮ่า

หลังจากที่ทุกท่านได้สำรวจฮวงจุ๊ยดีในการติดตั้งจานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตอนนี้เรามาลงมือติดตั้งเสากันเลย



 
จาก รูปที่2 คงเข้าใจได้ไม่ยาก แต่ท่านเคยผ่านการอบรมกับหลายๆ ค่ายที่ไม่ใช้ Dynasat อาจจะเกิดความสงสัยว่า ทำไม Dynasat ถึงไม่เน้นว่าจะต้องตั้งเสาให้ได้ฉาก
   
     ท่านที่มีคำถามนี้อยู่ในใจ คงจะนึกย้อนกลับไปได้ว่าในทุกๆ ครั้งที่ท่านติดจานดาวเทียมท่านต้องเสียเวลาอยู่กลางแดด ตากลมจนหน้าดำในแต่ละครั้งไม่ต่ำกว่า 15-30นาทีในการที่จะพยายามตั้งเสาให้ได้ฉากเป๊ะๆด้วยความพยายามอย่างยิ่งยวด ในการใช้แหวนรองที่ฐานทีละจุด เพื่อให้เสาตั้งฉากกับพื้นโลก และปัญหาที่ตามมาก็คือเมื่อเวลาผ่านไปแหวนรองเหล่านี้เกิดผุกร่อนเป็นสนิมก็ ทำให้เกิดปัญหาหน้าจานเคลื่อน ทำให้สัญญาณได้ไม่แรงพอ หรืออาจจะถึงขั้นรับไม่ได้เลย
    
     ส่วนเหตุผลที่มีการบอกกล่าวต่อๆ กันไปให้พยายามตั้งเสาให้ได้ฉากเป๊ะๆนั้นก็ด้วยเพราะเข้าใจว่าหากว่าเสาตั้ง ไม่ได้ฉากแล้วจะทำให้ตัววัดมุมผิดพลาดซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วมิได้เป็นเช่น นั้นเพราะ ..ตัววัดมุมมิได้วัดมุมเทียบกับเสา ที่รับรู้มานั้นเป็นการบอกเล่า และไม่มีใครคิดค้านหรือในเวลาทำงานจริงท่านจะรู้ว่ามันไม่เกี่ยวกัน!!
  
     ใน หลักความเป็นจริงนั้น ไม่มีอะไรที่ท่านมองเป็นความจริง นี้ไม่ออกด้วยสายบตาปกติ เพราะหากสังเกตดูการทำงานของตัววัดมุม จะเห็นว่าทีเข็มของตัววัดจะมีลูกตุ้มคอยถ่วงอยู่ดังนั้น.. การทำงานของตัววัดมุมจึงทำการวัดมุมโดยเทียบกับแรงดึงดูดของโลก ฉะนั้นการที่ท่านพยายามตั้งเสาให้ได้ฉากเป๊ะๆ อยู่ กลางแดด สมมุติตั้งวันละหนึ่งชุดละ 15 นาที ในเวลา ปีเท่ากับท่านเผาเวลาอันมีค่าไปกลางแดดถึง(0.25x365)=91.25ชั่วโมง
เลยทีเดียว

     ลงมือประกอบจาน   เพื่อความเข้าใจง่ายๆให้ดูจากขั้นตอนในรูปประกอบ






         รูปที่1         รูปที่2         รูปที่3         รูปที่4
















        รูปที่5         รูปที่6         รูปที่7         รูปที่8





  


1.รูปหน้าจานดาวเทียม ขนาด 5ฟุต พร้อมอุปกรณ์เครื่องรับรีซีฟเวอร์
2.ชิ้นส่วนอุปกรณ์ในส่วนของคอจานที่อยู่ในกล่องพร้อมหมวกกันน้ำ
3.รูปชิ้นส่วนอุปกรณ์ในส่วนของคอจานที่ประกอบเสณ็จแล้ว
4.รูปการประกอบขา FEED , SCALAR RING ตามภาพ
5.รูปการประกอบสิ้นส่วนของจานดาวเทียมขนาด5ฟุต 2ชิ้นประกบกัน
6.รูปการประกอบสิ้นส่วนของจานดาวเทียมขนาด5ฟุต 4ชิ้นประกบกัน
7.รูปการนำชุด FEED มาประกอบเข้ากับชุดหน้าจาน
8.รูปการใส่หน้าจานประกอบเข้ากับFEEDแล้วยึดติดกับเสาจาน

    จุดที่เน้นก็คือการประกอบ และรอยต่อทุกจุดจะต้องเนียนเสมอกัน เพื่อส่วนโค้งหรือCurve ของหน้าจานจะได้สมบูรณ์การสะท้อนสัญญาณก็จะมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้นผู้ เขียนเคยทำการวัดสัญญาณดาวเทียมกันระหว่างที่ทีความใส่ใจในการประกอบ โดยให้ขอบทุกด้านประกอบกันสนิทจะมีเกนสูงกว่า จานที่ประกอบแบบไม่ใส่ใจประมาณ 0.5-1dB เลยทีเดียวซึ่งเทียบกับหน้าจานที่ทีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางต่างกันถึงครึ่ง ฟุต

     อุปกรณ์ที่สำคัญในการปรับหน้าจานดาวเทียม
นอก เหนือจากเครื่องมือพื้นฐานเช่นประแจเบอร์ต่างๆ ,ไขควง ,สว่านไฟฟ้า , ตู้เชือ่ม และอื่นๆ อีกมากมายแล้ว  ยังมีอุปกรณ์อีกหนึ่งอย่างที่สำคัญ และจะช่วยให้ท่านสามารถปรับจานดาวเทียมได้อย่างมืออาชีพอีก 2 ชิ้น ก็คือ ตัววัดมุมและเข็มทิศ นั่น เองท่านอาจจะไม่เชื่อว่า ยังมีช่างติดตั้งจานดาวเทียมจำนวนมากทีเดียวที่ยังใช้ ตัววัดมุมและเข็มทิศ แบบผิดวิธี เพราะความไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นในตอนนี่ขอให้อ่านดูวิธีใช้ให้ดีเพื่อความถูกต้องที่ดียิ่งขึ้น


การใช้เข็มทิศอย่างมืออาชีพ ที่วิธีการนี้ทำให้การปรับจานทำได้เร็ว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ Dynasat จนใครต่อใครหันมาใช้อย่างกว้างขวาง

ก.เลือก ใช้เข็มทิศตามแบบในภาพ นำมายึดกับอลูมิเนียม เพื่อความสะดวกในการเล็งทิศ หากสังเกตดูพบว่าที่กรอบพลาสติกใส่ในเข็มทิศจะหมุนได้รอบตัว
ข.หากท่านต้องการต้องการหาทิศ 240 องศา ขั้นแรกหมุนกรอบพลาสติกใส่ด้านในเข็มทิศเพื่อตั่งค่ามุม 240 องศา ให้ตรงกับขีดสีแดงดังรูป
ค.หมุนเข็มทิศจนเข็มสีแดงชี้ตรงกับตัว N ในกรอบสีส้มเท่านี้ท่านก็จะได้ทิศที่ต้องการ
ง.ใน กรณีของการปรับหน้าจาน ก็ทำได้ไม่ยาก  โดยการตั้งตัวเลขทิศที่ต้องการจากนั้นนำปลายของก้านอะลูมิเนียมฉากไปทาบกับ ด้านข้างของคอจานจากนั้น ส่ายหน้าจานโดยสังเกตให้สีแดงของเข็มทิศชี้ตรงกับตัว N ในกรอบสีส้มหน้าจานของท่านจะหันไปยังทิศที่ต้องการ

 
          แต่หากท่านได้ลองศึกษาวิธีใช้เข็มทิศและตัววัดมุมตามแบบฉบับของ Dynasat แล้วท่านจะพบกับอุปกรณ์ทั้งสองตัวแบบนี้จะช่วยให้ท่านปรับจานได้รวดเร็ว มากกว่าแบบเดิม ชนิดที่เดิมชนิดไม่อาจหาคำใดมาเปรียบเทียบได้ ตัวอย่างเช่น การสัมนาหลายๆครั้งของ Dynasat จะมีการทดสอบการปรับจานภาคสนามช่างที่เคยอบรมสัมมนาค่ายอื่นๆมา จะใช้เวลาในการปรับจาน 5-15 นาที ข้นอยู่กับจังหวะและความ ฟลุ๊ค แต่หากเป็นดาวเทียมดวงอื่นๆที่ไม่ใช่ Thaicom 2/5 ช่างเหล่านั้นอาจจะใช้เวลานานกว่า 30 นาที (บางครั้งหาไม่เจอเลยก็มี)
         แต่สำหรับมือใหม่ที่ไม่เคยปรับหน้าจานดาวเทียมมาก่อนแต่ใช้วัดมุมและเข็มทิศ อย่างถูกวิธี กลับปรับจานหาสัญญาณโดยใช้เวลาเพียงแค่ 30 วินาที ถึง 1 นาทีเท่านั้น และดาวเทียมดวงอื่นๆ ที่หายาก ก็ใช้เวลาในช่วง 30 นาที ถึง 1 นาทีเท่าเช่นกัน
        ลองมาดูกันว่าการใช้เข็มทิศ และตัววัดมุม แบบมืออาชีพนั้นใช้กันอย่างไร และในตอนต่อไปเราจะมาทดลองปรับจานรับสัญญาณกันจริงๆกันดูนะครับ



การใช้ตัววัดมุมอย่างมืออาชีพ
1.หมุน แผ่นเพลตด้านในของตัววัดมุม โดยสังเกตให้ขีดเลข 0 ด้านบนตรงกับตัวเลขค่ามุมที่ต้องการ เช่นต้องการปรับไปรับ measat1 ที่กรุงเทพ ซึ่งมุมก้มประมาณ 19.5องศา เราก็หมุนเพลตด้านในตามเข็มนาฬิกา ให้ขีดที่ตำแหน่งเลข0 ตรงกับค่ามุม 19.5องศา ตามรูป    
2.หากท่านใช้ตัววัดมุมในลักษณะตั้งตามรูป ขั้นตอนต่อไปคือปรับคอจานจนกระทั่งขีดสีแดงที่เข็มวัดมุมทับกับเส้นสีแดงในเพลต     
3.หาก ท่านใช้ตัววัดมุมในลักษณะกลับหัวตามรูป ด้ายซ้าย ขั้นตอนต่อไปก็คือการปรับคอจาน จนกระทั่งขีดสีแดงที่เมวัดมุมชี้ตรงกับขีดสีขาวเล็กๆ ที่อยู่ตรงข้ามกับเส้นสีแดงในเพลต     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น