วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เบื้องต้นเกี่ยวกับจานดาวเทียม


ณ.โลกปัจจุบันนี้ โลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์  หรือยุคการสื่อสารไร้พรมแดนไปแล้ว  และทุกๆคนที่อยู่บนโลกใบนี้  จะสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ตลอดเวลาไม่วาจะอยู่ ณ ที่ใดบนโลกก็ตาม   ดังนั้นจากที่กล่าวมานี้ ก็เนื่องจากทุกๆประเทศได้มีการเชื่อมต่อระบบการสื่อสารระหว่างกันอย่างทั่ว ถึง   และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวนี่ได้ ก็คงจะหนีไม่พ้นระบบการสื่อสารโทรคมนาคมผ่านดาวเทียม  เพราะมีข้อได้เปรียบของระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียมนั้นมีหลายประการที่หนือ กว่าการสื่อสารแบบในระบบอื่นๆ   เช่น 1.สามรถครอบคลุมพื้นที่ให้บริการได้อย่างกว้างขวางกว่าเมื่อเทียบกับระบบ อื่นๆ   2.การสร้างระบบ และการดำเนินการของระบบสามารถทำได้ในเวลาอันรวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า  เมื่อเปรียบเทียบกับระบบอื่น และข้อได้เปรียบอีกหลายประการที่การติดต่อสื่อสารโดยใช้ระบบดาวเทียมมีเหนือ กว่าระบบอื่นๆ
    
     ณ ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีของระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียมในรูปแบบต่างๆได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมากเมื่อเปรียบเทียบกับสมัยก่อน   ทั้งนี้เนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการผลิตสิ้นส่วนอุปกรณ์ อิเลคทรอนิกส์และอุปกรณ์ไมโครเวฟ ต่างๆ  ที่ใช้สำหรับระบบ เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านดาวเทียม จึงทำให้ระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียมนั้นมีประสิทธิภาพและขีดความสามารถสูง ขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างมาก  นอกจากนี้ในการประยุกต์การใช้งานของระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม   เพื่อให้บริการในรูปแบบต่างๆนั้น ก็ยิ่งมีความสำคัญเป็นทวีคูณและสูงขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ   เช่น การถ่ายทอดสดเหตุการณ์ต่างๆผ่านดาวเทียมแบบข้ามทวีป , การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่สามารถติดต่อถึงกันและกันได้ไม่ว่าผู้ใช้จะอยู่ ณ จุดใดๆบนพื้นโลกก็ตาม และประโยชน์อื่นๆอีกมากมายของการสื่อสารระบบผ่านดาวเทียม
          
      ชนิดของดาวเทียมแบบต่างๆ  ดาวเทียมที่มนุษย์ส่งขึ้นไปโครจรเหนือผิวโลก ขณะนี่มีมากกว่า 200ดวง ซึ่งโคจร อยู่ที่ ณ ตำแหน่งต่างๆบนท้องฟ้า   ดาวเทียมที่ส่งขึ้นไปเหนือผิวโลกนี้สามารถ แบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ของลักษณะการโครจรเหนือผิวโลก
           
       1. ดาวเทียมแบบโครจรตามยถากรรมเป็น ดาวเทียมรุ่นแรกๆ ที่มนุษย์ส่งขึ้นไปโครจรเหนือพื้นผิวโลก สมัยก่อนนั้นระบบเทคโนโลยี ของการส่ง และการควบคุมดาวเทียมนั้นยังไม่ดีเท่าทีควร ดาวเทียมแบบนี้ แต่ละดวงจะมีวงโครจรเป็นของตัวเองต่างจากดวงอื่นๆ และระดับความสูงแต่ละดวงจะแตกต่างกัน  และเป็นดาวเทียมที่บังคับวงโครจรและระดับความสูงไม่ได้
            
       2. ดาวเทียมแบบเฟสเป็น ดาวเทียมที่มีวงโครจรแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ที่จะให้ดาวเทียมนั้นๆโค รจรผ่าน ณ ตำแหน่งใดๆเหนือพื้นโลก เช่น โครจรเหนือเส้นศูนย์สูตร   โครจรเอียง 30องศา   โครจรผ่านขั้วโลกเหนือหรือขั้วโลกใต้เป็นต้น ดาวเทียมแบบนี้เป็นดาวเทียมที่บังคับวงโครจรได้ เช่น    ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร    ดาวเทียมจารกรรม เป็นต้น

       3. ดาวเทียมแบบโครจรอยู่กับที่ เป็น ดาวเทียมที่ใช้เพื่อการสื่อสาร โดยมนุษย์ส่งขึ้นไปให้มีระดับความสูงประมาณ 35,860 กิโลเมตร เหนือพื้นโลก รอบเส้นศูนย์สูตร (รอบ เส้นรุ้งที่ 0 องศา ) และมีความเร็วในการโครจรรอบโลกครบหนึ่งรอบเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบ เช่นกัน ดังนั้นเมื่อเราสังเกตดูดาวเทียมดวงใดดวงหนึ่ง ณ จุดใดจุดหนึ่งพื้นโลกเป็นเวลาหนึ่ง จึงดูเสมือนว่าดาวเทียมดวงเรามองอยู่นั้นลอยนิ่งอยู่กับที่ ไม่มีการเคลื่อนที่. สมัยที่ท่านเรียนหนังสือ ท่านคุณครูบ้างท่านอาจเรียกดาวเทียมชนิดนี้ว่า " ดาวเทียมค้างฟ้า "  ดาวเทียมแบบนี้เป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร
                                       
   


      อายุการใช้งานของจานดาวเทียม โดย ส่วนมากจะขึ้นอยู่กับ เชื้อเพลิงหรือแหล่งพลังงานที่บรรจุอยู่ในดาวเทียมเพื่อการควบคุมตำแหน่ง   แผงโซล่าเซลล์ หรือเซลล์แสงอาทิตย์ ที่เป็นตัวจ่ายพลังงานให้กับอุปกรณ์ไฟ้ฟ้า และ อิเลคทรอนิกส์ ต่างๆ ที่อยู่ในดาวเทียม  และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Traveling wave tube ( TWT ) ที่ใช้เป็นอุปกรณ์ขยายสัญญาณในดาวเทียม
     การส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโครจรสามารถส่งได้2วิธี  คือ1.การส่งโดยใช้จรวด   2. การส่งโดยใช้ยานขนส่งอวกาศ

                                           

     ทรานสปอนเดอร์ของจานดาวเทียมเพื่อ การสื่อสาร  จะทำหน้าที่รับสัญญาณที่ขึ้นไปจากบนโลก (สัญญาณ up link )   แล้วเปลี่ยนความถี่ของสัญญาณให้ต่ำลงให้อยู่ในย่านความถี่ Down Link แล้วขยายสัญญาณให้มีความแรงของสัญญาณสูงขึ้น แล้วส่งสัญญาณกลับลงมายังโลกโดยผ่านสายอากาศแบบต่างๆกันตามจุดประสงค์

  
     ความถี่ขาลง ( down link frequency ) ของดาวเทียมสื่อสารที่ใช้ความถี่ย่าน C-band จะมีค่าความถี่อยู่ในช่วง 3700Mhz - 4200 Mhz. หรือ 3.7Ghz - 4.2 Ghz
        ช่วงความกว้างของความถี่ขาลง ( down link frequency range หรือ bandwidth ) ของดาวเทียมสื่อสารที่ใช้ความถี่ย่าน C-band จะมีความกว้าง = 480 Mhz หรือ 0.48 Ghz  และ แบ่งการส่งสัญญาณแยกออกเป็นช่องย่อยๆ ในแต่ละช่วงอีก หรือ เรียกว่า transponder
        1ช่องทรานสปอนเดอร์ของดาวเทียมสื่อสารที่ใช้ความถี่ย่าน C-band จะมีความกว้างของช่วงความถี่ขาลง ( down link frequency range of transponder  หรือ transponder  bandwidth ) =  40 Mhz    เพราะฉะนั้น ดาวเทียมสือสารที่ใช้ความถี่ย่าน c-band จะสามารถมีทรานสปอนเดอร์ได้ถึง 12ทรานสปอนเดอร์ ในแต่ละแนวการส่ง ,
     Polarizatiion ( แนวการส่งสัญญาณ )ใน ดาวเทียมสื่อสาร สามารถ กำหนดแนวการส่งสัญญาณได้เป็น2ลักษณะคือ  1. แนวตั้ง ( vertical )  และ  2.แนวนอน ( Horizontal ) , ดาวเทียมสื่อสารรุ่นใหม่ทั่วๆไป สามารถทีจะมีช่องทรานสปอนเดอร์ในแนวตั้ง ( Vertical ) ได้ 12ทรานสปอนเดอร์ และมีช่องทรานสปอนเดอร์ในแนวนอน ( Horizontal ) ได้ อีก12ทรานสปอนเดอร์ รวมเป็น 24ทรานสปอนเดอร์     ปัจจุบันนี้ 1ทรานสปอนเดอร์ของดาวเทียมสื่อสารในระบบ Digital  สามารถส่งช่องรายการทีวีได้มากถึง 12ช่องรายการ  ในลักษณะที่มีการบีบอัดข้อมูลในระบบ Mpeg 2 ฉะนั้นดาวเทียมสื่อสารที่รับและส่งรายการทีวีอย่างเดียวจะสามารถที่จะส่ง ช่องรายการทีวีได้รวมมากถึง 288 ช่องรายการ

                      
    ความถี่ขาลง ( down link frequency ) ของดาวเทียมสื่อสารที่ใช้ความถี่ย่าน ku-band จะมีค่าความถี่อยู่ในช่วง 11700Mhz - 12200 Mhz. หรือ 11.7Ghz - 12.2 Ghz
       ช่วงความกว้างของความถี่ขาลง ( down link frequency range หรือ bandwidth ) ของดาวเทียมสื่อสารที่ใช้ความถี่ย่าน ku-band จะมีความกว้าง = 480 Mhz หรือ 0.48 Ghz  และ แบ่งการส่งสัญญาณแยกออกเป็นช่องย่อยๆ ในแต่ละช่วงอีก หรือ เรียกว่า transponder ***เท่ากับ ย่าน c-band***
       1ช่องทรานสปอนเดอร์ของดาวเทียมสื่อสารที่ใช้ความถี่ย่าน ku-band จะมีความกว้างของช่วงความถี่ขาลง ( down link frequency range of transponder  หรือ transponder  bandwidth ) =  40 Mhz    เพราะฉะนั้น ดาวเทียมสือสารที่ใช้ความถี่ย่าน ku-band จะสามารถมีทรานสปอนเดอร์ได้ถึง 12ทรานสปอนเดอร์ ในแต่ละแนวการส่ง ***เท่ากับ ย่าน c-band***

กราฟแสดงช่องความถี่ของสัญญาณขาลง ( down link Freq. ) ของดาวเทียมที่ใช้ความถี่ย่าน C-band และ KU-BAND

                       

หมายเหตุ สัญญาณ " ไมโครเวฟ " คือสัญญาณที่มีความถี่ตั้งแต่ 1GHz ขึ้นไป

    กำลังส่งออกที่มีผล ( ค่า EIRP ) กำลัง ส่งออกที่มีผลหมายถึง   กำลังส่งออกที่ออกจากจานสายอากาศทางด้านส่ง   ซึ่งเป็นผลรวมของกำลังของเครื่องส่ง  การสูญเสียที่เกิดจากท่อนำคลื่นระหว่างเครื่องส่งถึงจานสายอากาศ  อัตราเพิ่มกำลังของจานสายอากาศ   ซึ่งอัตราการเพิ่มกำลังของจานสายอากาศนี้เป็นการเปรียบเทียบกำลังที่ส่งออก จากจานสายอากาศเทียบกับกำลังที่ส่งได้เมื่อใช้สายอากาศแบบมีทิศทางส่งรอบตัว เป็นสายอากาศส่ง
          กำลังส่งออกทีมีผล คำนวณได้ดังนี้
          EIRP = Pt - Lft + Gt ( dBW )      *** มีหน่วยเป็น decibel Watt ***
          เมื่อ Pr คือ กำลังของเครื่องส่ง ( dB ) = 10 Log Pt ( W )
          Lft คือ การสูญเสียที่เกิดจากระบบสายส่ง ( dB )
          Gt คือ อัตราการเพิ่มกำลังของจานสายอากาศส่ง ( dB )
              
    ค่า EIRP ( กำลังส่งที่มีผล หรือ ค่าความแรงของสัญญาณดาวเทียมที่ส่งลงมายังพื้นโลก ) ในแต่ละพื้นที่จะมีความแรงของสัญญาณที่ไม่เท่ากัน จุดศูนย์กลางของฟรุตปรินท์จะมีความแรงของสัญญาณมากที่สุด

  
 รูปโครงสร้างดาวเทียม
1.สายอากาศรับสัญญาณการควบคุมและการส่งสัญญาณมาตรวัดใช้ในช่วงวงโคจรโอนถ่าย และในกรณีฉุกเฉิน
2.สายอากาศแบบจานจุดประสงค์หลักเพื่อใช้ในการรับและส่งสัญญาณ ทั้งระบบ C-Band และ KU-Band
3.อุปกรณ์รับและส่งสัญญาณที่มาจากจานและระบบภายในดาวเทียม
4.ระบบเปิดปิดหน้าจานและปรับตำแหน่งของสายอากาศแบบจานดาวเทียม
5.ส่วนที่รับ-ส่งข้อมูลDATAระหว่างพื้นโลกกับดาวเทียม
6.อุปกรณ์ขยายสัญญาณdataที่ส่งถ่ายข้อมูลระหว่างดาวเทียมกับพื้นโลก
7.ส่วนโลหะแพร่ความร้อนของดาวเทียม
8.อุปกรณ์ควบคุมระบบถังเชื้อเพิลงของดาวเทียม
9.ชุดแบตเตอรี่ควบคุมและจ่ายพลังงานต่างๆให้กับดาวเทียม
10.จรวดเชื้อเพิลงแข็งใช้สำหรับส่งดาวเทียมจากวงโคจรให้เข้าสู่วงโคจรค้างฟ้า
11.แผง เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ ใช้สำหรังแปรงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า และจะเก็บไว้ในชุดแบตเตอรี่เพื่อจ่ายพลังงานให้กับระบบดาวเทียม
ตัวอย่างข้อมูล ดาวเทียมไทยคม 5THAICOM-5 is a three-axis stabilized spacecraft with a payload capacity of 25 C-Band and 14 Ku-Band transponders. Global beam coverage on THAICOM-5 spans over four continents and can service users in Asia, Europe, Australia, and Africa. The high-powered Ku-Band transponders, with both spot and steerable beams, are ideally suited to Digital DTH services for Thailand and other countries in the region.
 
               
Specifications
Design SpaceBus 3000A, a three-axis stabilized spacecraft
Power System At least 5,000 Watts at the end
Launch Weight Approximately 2,766 Kg.
Mass in Orbit At least 1,600 Kg. at the beginning of spacecraft's life, 1,220 Kg. at the end
Life Expectancy At least 12 years
Transponder Capacity C-Band: 25 transponders (all with 36 MHz)
Ku-Band: 14 transponders (two with 54 MHz and 12 with 36 MHz)
Satellite Location 78.5 degrees East
Launch Agency Arianespace of France
Launch Date May 27, 2006
 
Footprint
 
 
                          [A]  C-Band Global                   *** Beam Peak ( EIRP ) = 38dBW ***   
       
                   [B] C-Band Regional Beam      *** Beam Peak ( EIRP ) =41 dBW ***   
                         
[C] Ku-Band Thailand Beam    *** Beam Peak ( EIRP ) = 57 dBW ***
                          [D] Ku-Band Indochina Beam  *** Beam Peak ( EIRP ) = 56 dBW ***

               

    ตำแหน่งของดาวเทียมเป็น ที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าดาวเทียมสื่อสารที่โครจรอยู่กับที่หรือดาวเทียมค้าง ฟ้านั้น จะโครจรอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรที่ความสูงประมาณ 35,860 กิโลเมตร เหนือพื้นโลก นั้น ณ ปัจจุบันมี ดาวเทียมสื่อสารมากกว่า 200ดวง เรียงอยู่บนท้องฟ้าเหนือเส้นศูนย์สูตร และเราจะทราบได้อย่างไรว่าดาวเทียมแต่ละดวงนั้นลอยอยู่ทิศใดของประเทศใดๆ บ้าง เพราะฉะนั้น จึงมีองค์กรดาวเทียมระหว่างประเทศ หรือเรียกย่อๆว่า ITU ( International Telecommunication Union ) ซึ่งเป็นองค์กรที่จะให้อนุญาติในการระบุตำแหน่งของดาวเทียมดวงที่จะส่งขึ้น ไปบนท้องฟ้า และดาวเทียมทุกๆดวงจะต้องตัวเลขระบุตำแหน่งองศาของเส้นแวงต่อท้ายซื่อดาว เทียมนั้นๆเสมอเช่น Thaicom5 ( 78.5E)



ตารางมุมก้มเงยของการติดตั้งจานดาวเทียมระบบ C-BAND ( จานดำ ) ณ.ที่จังหวัดต่างๆ

จังหวัด
เส้นรุ้ง
มุมก้มเงย
จังหวัด
เส้นรุ้ง
มุมก้มเงย
1. กรุงเทพฯ
13.45
15.73
39. เพรชบุรี
13.02
15.23
2. กระบี่
8.03
9.39
40. เพรชบรูณ์
16.25
19.01
3. กาญจนบุรี
14.00
16.38
41. แพร่
18.25
21.35
4. กาฬสินธุ์
16.25
19.01
42. ภูเก็ต
7.58
8.86
5. กำแพงเพรช
16.29
19.05
43. มหาสารคาม
16.11
18.84
6. ขอนแก่น
16.26
19.02
44. แม่ฮ่องสอน
19.17
22.42
7. จันทรบุรี
12.36
14.46
45. มุกดาหาร
16.32
19.09
8. ฉะเชิงเทรา
13.41
15.68
46. ยะลา
6.32
7.39
9. ชลบุรี
13.21
15.45
47. ยโสธร
15.47
19.09
10. ชัยนาท
15.11
17.67
48. ร้อยเอ็ด
16.03
18.75
11. ชัยภูมิ
15.48
18.11
49. ระนอง
9.58
11.20
12. ชุมพร
10.29
12.03
50. ระยอง
12.60
14.74
13. เชียงราย
19.54
22.86
51. ราขบุรี
13.32
15.58
14. เชียงใหม่
18.47
21.60
52. ลพบุรี
14.57
17.04
15. ตรัง
7.33
8.57
53. ลำปาง
18.17
21.25
16. ตราด
12.14
14.20
54. ลำพูน
18.34
21.45
17. ตาก
16.52
19.32
55. เลย
17.29
20.22
18. นครนายก
14.12
16.52
56. ศรีสะเกษ
15.07
17.63
19. นครปฐม
13.49
15.78
57. สกลนคร
17.09
19.99
20. นครพนม
17.09
19.99
58. สงขลา
7.12
8.33
21. นครราชสีมา
14.58
17.05
59. สตูล
6.37
7.45
22. นครศรีธรรมราช
8.25
9.65
60. สุมทรปราการ
13.36
15.63
23. นครสวรรค์
15.41
18.02
61. สมุทรสงคราม
13.24
15.49
24. นนทรบุรี
13.50
15.79
62. สมุทรสาคร
13.26
15.51
25. นราธิวาส
6.25
7.31
63. สระแก้ว
13.35
15.61
26. น่าน
18.46
21.59
64. สระบุรี
14.31
16.74
27. หนองคาย
17.52
20.49
65. สิงห์บุรี
14.53
17.00
28. บุรีรัมย์
14.59
17.07
66. สุโขทัย
17.00
19.89
29. ปทุมธานี
14.01
16.39
67. สุพรรณบุรี
14.28
16.70
30. ประจวบฯ
11.48
13.43
68. สุราษฏร์ธานี
9.08
10.62
31. ปราจีน
14.02
16.40
69. สุรินทร์
14.52
16.98
32. ปัตตานี
6.51
7.61
70. หนองบัวลำภู
17.13
20.04
33. อยุธยา
14.20
16.61
71. อ่างทอง
14.35
16.78
34. พะเยา
19.10
22.34
72. อำนาจเจริญ
16.00
18.72
35. พังงา
8.26
9.66
73. อุดรธานี
17.24
20.17
36. พัทลุง
7.36
8.61
74. อุตรดิตน์
17.37
20.32
37. พิจิตร
16.43
19.22
75. อุทัยธานี
15.22
17.80
38. พิษณุโลก
16.49
19.29
76. อุบลราชธานี
15.13
17.70








   ระบบการส่งสัญญาณดาวเทียมมี 2 แบบ
    1. แบบ C – BAND จะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกอยู่ในช่วงความถี่ 3.4 – 4.2 GHz แบบนี้จะมีฟุต   ปริ้นท์กว้าง สามารถส่งสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ได้หลายประเทศ
        ข้อดี : การใช้ดาวเทียมระบบนี้เหมาะที่จะใช้ในประเทศที่ใหญ่ ๆ เพราะส่งดาวเทียมดวงเดียวก็ สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ทั่วประเทศ เช่น สหรัฐ, รัฐเซีย, จีน, อินโดนีเซีย
        ข้อเสีย : เนื่องจากส่งครอบคลุมพื้นที่กว้าง ๆ ความเข้มของสัญญาณจะต่ำ จึงต้องใช้จาน 4 – 10 ฟุต ขนาดใหญ่รับสัญญาณจังจะชัด
    
    2. แบบ KU –BAND ส่งความถี่ 10 – 12 GHz สูงกว่าความถี่ C – BAND สัญญาณที่ส่งจะ ครอบคลุมพื้นที่ได้น้อย จึงเหมาะสำหรับส่งสัญญาณเฉพาะภายในประเทศ เป็นที่นิยมใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในยุโรป และประเทศญี่ปุ่น
        ข้อดี : ความเข้มของสัญญาณสูงมาก ใช้จานขนาดเล็ก ๆ 80 – 120 เซ็นติเมตรก็สามารถรับสัญญาณได้แล้ว เหมาะสำหรับส่งสัญญาณภายในประเทศ เช่น สัญญาณ CABLETV ผ่านดาวเทียม DBS (DIRECT BROADCAST SATELLITE) ความถี่ 11.7 – 12.5 GHz ในระบบ DIGITAL COMPRESSION ของประเทศสหรัฐอเมริกา
        ข้อเสีย : ฟุตปริ้นท์ระบบ KU –BAND จะแคบ ส่งเฉพาะจุดที่ต้องการ ครอบคลุมพื้นที่ได้น้อยทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง ปัญหาในการรับสัญญาณภาพ เวลาเกิดฝนตกภาพจะไม่มี สาเหตุเนื่องจากความถี่ของ KU –BAND จะสูงมากเมื่อผ่านเมฆฝน 

   
    รูปแบบของจานดาวเทียม 
ปัจจุบัน สัญญาณดาวเทียม ที่ครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทย มีมากกว่า 20 ดาวเทียม การติดตั้งจานรับสัญาณดาวเทียม ที่ใช้กันอย่ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ

      1.จานแบบมูฟสามารถเคลื่อนที่ โยกย้ายที่คอจานจะมีมอเตอร์เพื่อทำหน้าที่ดันหน้าจานให้เคลื่อนที่ ไม่ล็อคตายตัว  โดยการสั่งงานผ่านรีโมทคอนโทรลไปยังที่เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อควบคุมการเคลื่อนของมอเตอร์ ให้ไปตามตำแหน่งของดาวที่เราต้องการ ซึ่งดาวเทียมที่รับได้ในประเทศไทย  ในปัจจุบัน มีมากกว่า 15 ดวง โดยขนาดของจาน จะมีตั้งแต่ 6 ฟุต - 10 ฟุต  จานดาวเทียมแบบมูฟมีทั้งระบบ C-Band และ KU-Band
       2.จานแบบฟิกซ์ยึดอย่กับที่เป็นจานที่ออกแบบมาสำหรับติดตั้งเพื่อรับดาวเทียม แค่ดวงเดียว ฟิกซ์อยู่กับที่โดยจะรับดาวเทียมดวงไหนก็ตั้งหน้าจานหันรับไปทางดาวเทียมดวง นั้น   ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้  แต่โดยส่วนใหญ่จะรับดาวเทียมไทยคม 2/3 เพื่อรับชมทีวีไทย 3 5 7 9 11 ITV และยังสามารถดูต่างประเทศได้ 50 กว่าช่อง เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ติดเสาอากาศไม่ชัด จานดาวเทียมแบบ Fix มีทั้งระบบ C-Band และ KU-Band

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น