วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ดาวเทียมบนท้องฟ้า

ส่วนประกอบของดาวเทียม 


 ดาวเทียมทำงานอย่างไร 
                         ดาวเทียมจะถูกส่งขึ้นไปลอยอยู่ในตำแหน่ง  วงโคจรค้างฟ้า ซึ่งมีระยะห่างจากพื้นโลกประมาณ   36000 - 38000  กิโลเมตร  และโคจรตามการหมุนของโลก  เมื่อเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นโลกจะเสมือนว่าดาวเทียมลอยนิ่งอยู่บนท้องฟ้า  และดาวเทียมจะมีระบบเชื้อเพลิงเพื่อควบคุมตำแหน่งให้อยู่ในตำแหน่งองศาที่ ได้สัปทานเอาไว้   กับหน่วยงานที่ดูแลเรื่องตำแหน่งวงโคจรของดาวเทียมคือ  IFRB ( International Frequency Registration Board )
 การรับและส่งสัญญาณ
                        ดาวเทียมที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า  จะทำหน้าที่เหมือนสถานีทวนสัญญาณ  คือจะรับสัญญาณที่ยิงขึ้นมาจากสถานีภาคพื้นดิน  เรียกสัญญาณนี้ว่า สัญญาณขาขึ้นหรือ ( Uplink ) รับและขยายสัญญาณพร้อมทั้งแปลงสัญญาณให้มีความถี่ต่ำลงเพื่อป้องกันการรบกวน กันระหว่างสัญญาณขาขึ้นและส่งลงมา  โดยมีจานสายอากาศทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณ  ส่วนสัญญาณในขาลงเรียกว่า ( Downlink )
 พื้นที่การให้บริการดาวเทียม
                       ขอบเขตพื้นที่การให้บริการดาวเทียม   เรียกว่า  Footprint   ดาวเทียมสามารถกำหนดขอบเขตการส่งสัญญาณกลับมายังภาคพื้นดินได้  ดังภาพ


  ย่านความถี่ดาวเทียม  
                      
                      ดาวเทียมที่ส่งสัญญาณในย่านความถี่ C-BAND จะมีกำลังส่งค่อนข้างต่ำประมาณ  8-16 วัตต์  ดังนั้นเมื่อสัญญาณส่งมาถึงโลกจึงมีสัญญาณที่อ่อนมาก  ในการรับสัญญาณเราจึงจำเป็นต้องใช้จานที่มีขนาดใหญ่  แต่มีข้อดีคือครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างรวมทั้งสามารถตั้งมุมยิงสายอากาศให้มี ขอบเขตจุดศูนย์กลางของสัญญาณโดยเน้นความเข็มของสัญญาณไว้ได้ถึง 2 จุด  ดังรูปภาพ  ที่จุด A     สาเหตุที่ไม่สามารถส่งสัญญาณที่กำลังวัตต์สูงๆได้   เนื่องจากในภาคพื้นดินก็ยังคงใช้ความถี่อยู่ในย่านนี้ด้วยเหมือนกัน   เพราะถ้าส่งที่กำลังวัตต์สูงๆจะทำให้เกิดการรบกวนกันระหว่างคลื่น



                      ส่วนการส่งในย่านความถี่   KU-BAND  จะส่งด้วยกำลังวัตต์ที่สูงกว่าระบบ  C-BAND   หรือบางประเทศก็ส่งที่กำลังวัตต์สูงๆเลย  ทำให้สัญญาณที่รับได้ที่ภาคพื้นดินมีความเข็มสัญญาณสูงมาก  ในการรับสัญญาณในระบบนี้จึงใช้จานที่มีขนาดเล็กๆก็รับสัญญาณได้แล้ว จานที่ ใช้กับระบบ KU-BAND จะมีขนาดตั้งแต่ 1.5 ฟุตขึ้นไป     ขอบเขตในการส่งสัญญาณหรือ Footprint ในระบบ KU-BAND  ส่วนมากจะส่งสัญญาณในขอบเขตที่จำกัดเช่นมีขอบเขตเฉพาะจัหวัด  หรือ เฉพาะประเทศ   ในระบบเคเบิ้ลทีวีผ่านดาวเทียมส่วนมากจะนิยมใช้ระบบนี้ในการส่งสัญญาณเพื่อ บริการลูกค้า   เพราะว่าสามารถจะ  บริการลูกค้าได้ง่าย  ใช้จานรับที่มีขนาดเล็กทำให้ประหยัดต้นทุนโดยรวม   ข้อเสียของระบบนี้คือ  จะมีผลต่อสัญญาณเมื่อมีฝนตกหนักหรือท้องฟ้าปิดด้วยเมฆฝนมากๆ  จะทำให้รับสัญญาณได้อ่อนลงหรืออาจจะรับไม่ได้ในในเวลานั้น  แล้วก็จะกลับคืนมาปกติเมื่อสภาพอากาศปกติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น